IJSO คืออะไร? ต่างกับการสอบสอวน.ยังไง น้องๆ สงสัยกันหรือเปล่าครับ วันนี้พี่ๆ ออนดีมานด์มีคำตอบมาให้อย่างละเอียดเลย ทั้งรูปแบบการแข่งขัน การรับสมัคร การสอบ และประโยชน์ที่จะได้รับจากการสมัครสอบแข่งขันเหล่านี้อีกด้วย อย่ารอช้า ไปอ่านกันเลยดีกว่า!!
การสอบ IJSO คือ การแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Junior Science Olympiad) รวม 3 วิชา คือ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา สมัครได้ตั้งแต่ ม.1 – ม.3 ที่อายุไม่เกิน 15 ปี ในปีที่เปิดรับสมัครเท่านั้น หรือก็คือเป็นโอลิมปิกวิชาการสำหรับน้องม.ต้นนั่นเองครับ
คุณสมบัติของผู้สมัครแข่งขันสอบ IJSO
- กำลังศึกษาในชั้น ม.1- ม.3 ณ วันที่สมัคร มีคะแนนเฉลี่ยในรายวิชาพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือถ้าต่ำกว่า 3.50 จะต้องมีผลงานทางวิทยาศาสตร์ดีเด่น (ต้องมีใบรับรองจากสถานศึกษา กรณีนักเรียนจากโรงเรียนนานาชาติให้ใช้เอกสารรับรองจากโรงเรียนที่ตนเองศึกษาอยู่
- ต้องเกิดในวันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป
- อายุไม่เกิน 15 ปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม ในปีการศึกษาที่สมัครสอบเท่านั้น
- มีสัญชาติไทย
- ผู้ปกครองยินยอมให้เข้าค่ายอบรม (ถ้าได้รับคัดเลือกจะต้องมีเวลาอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของแต่ละวิซา)
- โรงเรียนรับรองโดยผู้อำนวยการโรงเรียน (หรือรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ได้รับมอบหมาย)
- สำหรับนักเรียนโฮมสคูล ต้องรับรองโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
- สำหรับนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน และโรงเรียนแสงทองวิทยา การสอบคัดเลือกรอบ 1 และรอบ 2 ให้อยู่ในการดำเนินงานของโรงเรียน เพื่อคัดผู้แทนนักเรียน จำนวนโรงเรียนละ 6 คน เข้าร่วมการอบรมในค่ายของมูลนิธิ สอวน.
- จะต้องไม่เคยเป็นผู้แทน IJSO
*น้องๆ ที่สนใจให้ติดตามประกาศจากปีนั้น ๆ อีกครั้งนะครับ
สอบคัดเลือกรอบที่ 1
สอบวิชาคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี และชีววิทยา (วิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที) โดยจะคัดเลือกผู้สมัครสอบจากทั่วประเทศเหลือประมาณ 300 คน รวมโควต้าเขตพื้นที่, โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จาก สสวท. 60 คน, ผู้แทนประเทศไทยจากการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาจาก สพฐ 18 คน (ไม่รวมโควต้า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 6 คน, โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน 6 คน และโรงเรียนแสงทองวิทยา 6 คน)
สอบคัดเลือกรอบที่ 2
สอบวิชาฟิสิกส์, เคมี และชีววิทยา (สอบวิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที) เพื่อคัดเลือกนักเรียนประมาณ 30 คน เข้าอบรม (ไม่รวมโควต้า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 6 คน, โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน 6 คน และโรงเรียนแสงทองวิทยา 6 คน)
สอบคัดเลือกผู้แทนประเทศไทย
น้อง ๆ ที่ผ่านการคัดเลือกรอบที่ 2 จะต้องเข้าอบรมอย่างน้อย 80 % ของเวลาการอบรมแต่ละวิชา จึงจะมีสิทธิ์สอบคัดเลือก โดยจะมีการคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยจำนวน 6 คน และสำรอง 4 คน
รูปแบบการสอบแข่งขัน
- Multiple Choice Test: ข้อสอบแบบมีอัตนัย 4-5 ตัวเลือก ทดสอบความรู้ด้านเนื้อหาและการประยุกต์ใช้
- Theoretical Test : เป็นข้อสอบแบบเติมคำหรือแบบอัตนัยเขียนอธิบาย ไม่มีตัวเลือก ทดสอบความรู้และความเข้าใจในเชิงทฤษฎี
- Practical Test : เป็นข้อสอบการแบบ แล็ปกริ๊ง เน้นวัดความสามารถในการทดลองและประยุกต์ใช้ทฤษฎีต่างๆ เพื่อหาคำตอบจากการทำลองจริง
*เนื้อหาที่ใช้สอบ IJSO ปีล่าสุด (2565) น้องๆ สามารถดูรายละเอียดได้ >>ที่นี่<<
ความแตกต่างระหว่างการสอบ IJSO กับ สอวน.
สอวน. (POSN) | IJSO | |
รายละเอียดการแข่งขัน | เป็นค่ายที่คัดน้องๆ ไปแข่งโอลิมปิกวิชาการจัดโดยสำนักงานส่งเสริมโอลิมปิกวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ มี 7 สาขาวิชา คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์ และภูมิศาสตร์ | การแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Junior Science OlympiadIJSO) รวม 3 วิชา คือ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา |
ระดับชั้นที่สมัครได้ | คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และดาราศาสตร์ เปิดสอบสำหรับ ม.1 – ม.5 ในปีการศึกษาที่สมัครสอบ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และภูมิศาสตร์ เปิดสอบสำหรับ ม.3 – ม.5 อายุไม่เกิน 19 ปี ในปีการศึกษาที่สมัครสอบเท่านั้น | สมัครได้ตั้งแต่ ม.1 – ม.3 ที่อายุไม่เกิน 15 ปี ในปีการศึกษาที่สมัครสอบเท่านั้น |
Timeline การคัดเลือก (โดยประมาณ) | ก.ค. รับสมัครสอบคัดเลือก ส.ค. สอบคัดเลือก ต.ค. อบรมค่าย 1 (เฉพาะนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือก) มี.ค. อบรมค่าย 2 (เฉพาะนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกค่าย 1) พ.ค. – ส.ค. อบรมค่ายสสวท.(เฉพาะนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกค่าย 2) | พ.ศ.- ธ.ค. รับสมัครสอบคัดเลือก ม.ค. สอบคัดเลือกรอบ 1 มี.ค. สอบคัดเลือกรอบ 2 (เฉพาะนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกรอบ 1) เม.ย. คัดเลือกผู้แทนประเทศ |
ประโยชน์ของการสอบ IJSO และสอวน.
- มีสิทธิ์เข้าสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำโดยไม่ต้องสอบ TCAS : น้องๆ อาจจะมีสิทธิ์ได้สอบเข้ามหาวิทยาลัยก่อนคนอื่นๆ ในรอบโควต้า ในคณะที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่ติดค่าย พร้อมทุนการศึกษา เช่น คณะวิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เภสัช เป็นต้น
- มีโอกาสเข้ามหาวิทยาลัย ชั้นนำของโลก : น้องๆ ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศ ก็มีโอกาสจะได้รับทุนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ทุนเล่าเรียนหลวง จะเป็นทุนการศึกษาจนถึงปริญญาเอก นอกจากนี้ สามารถเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็น Stanford, MIT และ Harvard หรือมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย
- ได้เพิ่มความรู้ ความสามารถด้านวิชาการขั้นสูง : หลังจากสอบผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ค่าย IJSO/สอวน. แล้วน้องๆ จะได้เรียนรู้เนื้อหาที่ไม่มีสอนในโรงเรียน และได้เรียนเนื้อหาระดับมหาวิทยาลัยบางส่วนนอกจากนี้มีโอกาสได้ลงมือทำแล็ปจริง ๆ ด้วยตัวเอง
- ได้รับประสบการณ์ล้ำค่า : น้องๆ จะได้เจอกับเพื่อนๆ ทีมีความสามารถจากต่าง ร.ร. ได้พูดคุย ทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยกันติว แลกเปลี่ยนความคิดและเทคนิคต่างๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในพัฒนาตัวเองได้ เมื่อได้เป็นผู้แทนประเทศ ก็จะได้ไปเข้าค่ายยังต่างประเทศ เจอเพื่อนจากหลายประเทศอีกด้วย
- ได้ค้นหาตัวตน เมื่อน้องๆเข้าค่าย จะได้มาเรียนรู้การทำ Lab จริง ได้เรียนเนื้อหาที่ยากขึ้น น้องจะพบว่าตัวเองสนุก และชอบวิชานั้นจริงๆ หรือพบว่าเราอาจจะไม่ได้ชอบวิชานั้นก็ได้
เป็นยังไงกันบ้างครับกับข้อมูลที่พี่ๆ นำมาบอกกันวันนี้ อาจจะทำให้น้องหลายคนเริ่มสนใจอยากลลองสอบกันดูสักสนามแล้วใช่ไหม? สำหรับน้องๆ ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดการรับสมัคร ทั้ง IJSO และสอวน. ได้ที่เว็บไซต์ www.posn.or.th เลยนะครับ พี่ๆ ออนดีมานด์จะอยู่เคียงข้าง และเป็นกำลังใจให้น้องที่มีฝันทุกคนเสมอครับ
คอร์สเรียนมาพร้อม Feature เด็ดช่วยพาสู่เป้าหมาย
ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด ตั้งเป้าคณะในฝัน เทียบคะแนนประเมินตนเอง ติดตามความคืบหน้า พร้อมแนะจุดออกสอบที่ควรเก็บ
สมัครคอร์สกลุ่ม TCAS รับสิทธิ์สอบ TCASTER Mock exam ฟรี! เช็กสถานะ/เลือกสนามสอบ ผ่าน mockexam.tcaster.net ตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค. เป็นต้นไป
ดูเฉลยพร้อมดูไฟล์เพิ่มเติมได้ตลอด 24 ชม. สงสัยจุดไหนสอบถามพี่ๆ ทีมวิชาการได้ทันที
อย่าลืมกด LIKE 👍 Facebook Fanpage ของ ออนดีมานด์ OnDemand สถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ เพื่อไม่ให้พลาด สาระดีๆ ข่าวสาร และสิทธิพิเศษ นะคร้าบบ