บทความนี้นำเสนอข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาและอาชีพในสาขาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) รวมถึงแนวทางการเตรียมตัวสำหรับการสอบเข้าศึกษาต่อในสาขานี้ ตั้งแต่การเข้าใจหลักสูตรการเรียนรู้ที่จำเป็น ไปจนถึงวิธีการเตรียมตัวสอบอย่างมีประสิทธิภาพ เราจะพูดคุยเกี่ยวกับเนื้อหาที่มักจะพบในข้อสอบ เทคนิคการทำข้อสอบ และทรัพยากรที่สามารถช่วยให้ผู้สมัครมีความพร้อมมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำจากนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการสอบเข้า รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสในการทำงานและแนวโน้มของอาชีพในอนาคต ทำให้บทความนี้เป็นแหล่งข้อมูลที่มีค่าสำหรับผู้ที่สนใจเข้าสู่โลกของวิศวกรรมโยธาอย่างแท้จริง
จบวิศวะโยธา ต้องสร้างตึกจริงไหม ? >> ไม่จริงซะทีเดียว แน่นอนว่าวิศวะโยธะ อาจเป็นส่วนใหญ่ที่ต้องเข้าไปเกี่ยวกับสายงานนี้ แต่จริง ๆ แล้ว สาขาวิศวะโยธา สามารถทำงานได้อย่างหลายหลาย วันนี้พี่ออนจะพาน้อง ๆ มาทำความรู้จักเกี่ยวกับสาขาวิศวะ โยธากัน
วิศวะ โยธาคืออะไร ?
สาขาวิศวะกรรมโยธา (Civil Engineering) คือศาสตร์หนึ่งทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่จะได้เรียนรู้ทักษะการออกแบบ การก่อสร้าง รวมถึงการบำรุงรักษา สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตึก อาคาร สะพาน ถนน ระบบขนส่ง ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ อีกทั้งสาขาวิศวกรรมโยธายังต้องศึกษาการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ อีกทั้งยังต้องเรียนรู้การบริหารจัดการวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงสุดอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันเอง สาขาวิศวกรรมโยธาก็มีสาขาเฉพาะด้านแยกย่อยอีก
วิศวะ โยธา มีสาขาเฉพาะอะไรบ้าง
1. วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณสิ่งก่อสร้างชนิดต่างๆ โดยเน้นไปทางงานออกแบบ วิเคราะห์ รวมถึงการคำนวณโครงสร้างและแรงต้านทานของวัสดุ
2. วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management)
ศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก โดยเน้นไปที่ระบบการสร้างอาคาร ตั้งแต่การวางแผน ประเมินราคาค่าก่อสร้าง และในบางมหาวิทยาลัยจะมีการสอนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลภายในอาคาร เพื่อการจัดการที่ดีในสิ่งปลูกสร้าง
3. วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering)
ศึกษาการวางผังจราจร เรียนรู้ประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบถนน นอกจากนี้ ยังศึกษาไปถึงวัสดุและกรรมวิธีในการสร้างและปรับปรุงถนนที่เหมาะสม
4. วิศวกรรมเทคนิคธรณี (Geotechnical engineering)
ศึกษาคุณสมบัติและวิศวกรรมของดิน เพื่อนำมาวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา ที่เป็นรากฐานสำคัญของวิศวะกรรมโยธา
5. วิศวกรรมธรณี (Geological engineering)
ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อออกแบบและแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธาและเหมืองแร่
6. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
ฝึกฝนค้นคว้าด้านการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในน้ำและในอากาศ เรียนรู้หลักในการปรับปรุงคุณภาพและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การก่อสร้างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
7. วิศวกรรมชลประทาน (Irrigation Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำ ระบบการระบายน้ำ และปริมาณน้ำฝนรวมทั้งการก่อสร้างคูคลอง และแม่น้ำ เป็นอีกสาขาสำคัญมากเลยทีเดียว
8. วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ เรียนรู้การทำงานทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้านจีพีเอส (GPS) และภูมิสารสนเทศ (GIS)
เรียนจบ วิศวะโยธา ทำงานอะไรได้บ้าง ?
ในปัจจุบันน้อง ๆ ที่เรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์จะในสถาบันที่สภาวิศวกรรับรองจะได้รับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรและสามารถทำอาชีพวิศวกรได้ แต่ในหลายบริษัท จะมีตำแหน่งที่แตกต่างกันไป เช่น
- ▪️ วิศวกรออกแบบโครงสร้าง
- ▪️ วิศวกรประมาณราคาสถาปัตย์
- ▪️ วิศวกรสนามในบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
- ▪️ วิศวกรที่ปรึกษา
- ▪️ วิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง
- ▪️ วิศวกรสำรวจวิศวกรแหล่งน้ำ
- ▪️ วิศวกรขนส่ง
- ▪️ วิศวกรปฐพี
เป็นต้น
น้อง ๆ สามารถเช็คสถาบันที่สภาวิศวกรรับรอง ทางออนไลน์ ได้ทางปุ่มด้านล่าง
อยากเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ต้องเตรียมตัวสอบอะไรบ้าง ?
หลัก ๆ น้องที่ต้องการจะเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้องสอบวิชา TPAT3 (ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์) ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สัดส่วนมากถึง 30% และวิชาอื่น ๆ สามารถยึดได้ตามเกณฑ์ของแต่ละสาขาที่ต่างกันออกไป วันนี้พี่ออนเอาตัวอย่างสัดส่วนที่สำคัญในการสอบเข้าวิศวะ โยธา จุฬาฯ (อ้างอิงเกณฑ์ปี 67) มาให้น้องดูกัน
น้องๆจะเห็นว่าคะแนน TPAT3 สูงมากถึง 30% เเต่เเค่เรียน TPAT3 ยังไม่พอ ไม่เชื่อลองมาฟัง น้องโอ๊ต ที่ 1 #TPAT3
เริ่มเตรียมตัวตอนนี้ทันไหม
พี่ออนดี้อยากจะบอกน้องๆ ว่า ไม่ต้องกังวลเรื่องเวลาในการเตรียมตัวเลย เพราะออนดีมานด์เพิ่งออกฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด My Path ที่ช่วยให้น้องๆที่เตรียมตัวช้าสามารถเรียนพื้นฐานฟิสิกส์ได้ทันเพื่อเป็นพื้นฐานในการต่อยอด TPAT3 ซึ่งมีน้ำหนักถึง 30% เลยที่เดียว
น้อง ๆ ที่อยากเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ไม่ว่าจะ DEK68 DEK69 สามารถเตรียมตัวกันได้ตั้งแต่วันนี้ ทั้งออนไลน์ และสาขาทั่วประเทศ
บทความอื่นๆ เพิ่มเติม 👉 : OnDemand