บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกสาขาเทคนิคการแพทย์ที่เป็นที่นิยมและมีคะแนนสอบสูงทุกปี เราจะสำรวจว่าในสาขานี้เรียนอะไรบ้าง มีวิชาอะไรที่สำคัญ และทำไมถึงเป็นที่ต้องการของนักเรียนและสถาบันการศึกษา บทความยังอธิบายถึงคุณสมบัติและทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนเทคนิคการแพทย์ พร้อมทั้งเหตุผลที่ทำให้คะแนนสอบเข้าในแต่ละปีสูงขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงการเตรียมตัวที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สนใจเข้าสู่เส้นทางอาชีพนี้
คณะเทคนิคการแพทย์ คืออะไร จบมาทำงานอะไร
คณะเทคนิคการแพทย์เป็นหนึ่งในสาขาวิชาที่เน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยเฉพาะการตรวจวิเคราะห์สารคัดหลั่งต่าง ๆ จากร่างกาย เพื่อช่วยในกระบวนการวินิจฉัยและรักษาโรค งานหลักของนักเทคนิคการแพทย์คือการทำงานในห้องแล็บโรงพยาบาล หรือที่หลาย ๆ คนรู้จักกันด้วยชื่อ “หมอแล็บ” เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำช่วยแพทย์ในการรักษา นอกจากนี้ ยังมีโอกาสทำงานในธนาคารเลือด หรือทำงานเกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์อีกด้วย ซึ่งอาชีพนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในระบบสุขภาพแต่ไม่ต้องทำงานตรงกับคนไข้มากนักมาทำความรู้จักเกี่ยวกับคณะนี้เพิ่มขึ้นกัน
Q : เทคนิคการแพทย์.. อาชีพนี้ทำอะไร?
นักเทคนิคการแพทย์ทำหน้าที่ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างต่างๆ เช่น เลือด ปัสสาวะ เสมหะ และสารคัดหลั่งต่างๆ เพื่อช่วยแพทย์วินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย อาชีพนี้ทำงานเบื้องหลังในห้องปฏิบัติการ หรือห้องแล็บโรงพยาบาล์ ไม่ได้เจอคนไข้โดยตรง
Q : เทคนิคการแพทย์ เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?
เทคนิคการแพทย์เเน้นรียนเกี่ยวกับชีววิทยา เคมี และเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ รวมถึงการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องแล็บ โดยทุกๆ รายวิชาจะมีพาร์ตเลกเชอร์ ก็คือการนั่งเรียนฟังบรรยายในห้อง กับพาร์ตแล็บ เป็นการให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง เสมือนว่ากำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในห้องแล็บของโรงพยาบาล
Q : นอกจากนักเทคนิคการแพทย์แล้ว จบไปทำอะไรได้บ้าง?
สามารถทำงานในธนาคารเลือด ห้องปฏิบัติการวิจัย โรงงานผลิตยา หรือทำงานเกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์อีกด้วย ซึ่งอาชีพนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในระบบสุขภาพแต่ไม่ต้องทำงานตรงกับคนไข้มากนัก ต่างกับหมอ และพยาบาลที่จะได้พบขนไข้อยู่ตลอดเวลาการทำงาน
Q : ความสำคัญของนักเทคนิคการแพทย์ในการรักษาคนไข้?
นักเทคนิคการแพทย์มีบทบาทสำคัญอย่างมากในระบบโรงพยาบาล เพราะจะคอยให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวินิจฉัยโรคและการเลือกวิธีรักษาที่ถูกต้อง จากการวิเคราะห์ตัวอย่างจากสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในร่างกาย เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย
Q : ทำไมบางมหาวิทยาลัยเรียก “เทคนิคการแพทย์” แต่บางที่เรียกว่า “สหเวช”?
บางมหาวิทยาลัยใช้คำว่า “เทคนิคการแพทย์” และ “สหเวช” เป็นชื่อคณะ ซึ่งคณะสหเวช จะครอบคลุมสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น กายภาพบำบัด วิทยาศาสตร์ทางกีฬา เป็นต้น ส่วนบางมหาวิทยาลัยอาจจะแยกสาขาเทคนิคการแพทย์ออกมาเป็นคณะแยกเลยอีกด้วย
คะแนนในการเข้าคณะเทคนิคการแพทย์
คะแนนที่จำเป็นในการคัดเลือก
✅ GPAX 2.50 ขึ้นไป
✅ คะแนนขั้นต่ำวิชา TPAT3 20 คะแนน
สัดส่วนคะแนนในการรับ
✅ TGAT 20%
✅ A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์1 10%
✅ A-Level เคมี 30%
✅ A-Level ชีววิทยา 30%
✅ A-Level ภาษาอังกฤษ 10%
จากสัดส่วนวิชาที่สอบพี่ออนดี้บอกเลยว่าทิ้งไม่ได้สักวิชา โดยเฉพาะชีวะและเคมีเพราะมีสัดส่วนสูงถึง 30% เเต่ด้วยความที่เนื้อหาวิชาค่อนข้างเยอะการเรียนวิชาอย่างชีวะ อาจจะต้องมีเทคนิคช่วยจำ วันนี้พี่ออนดี้มีตัวอย่างการเรียนการสอนของหมอสวยสอนชีวะ ที่ 1 แพทย์จุฬา มาให้น้องๆลองดูว่าสนุกขนาดไหน
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว แน่นอนว่าคณะเทคนิคการแพทย์ จบไปไม่ได้เป็นแค่หมอแล็บ แต่ยังสามารถประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้อย่างหลากหลาย เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับเข้าเทคนิคการแพทย์ ด้วยวิธีที่ดีที่สุดในการเตรียมตัว กับคอร์สเรียนออนไลน์แบบออนดีมานด์ที่สามารถจัดเวลาเรียนได้ด้วยตนเอง จะอยู่ที่ไหน เวลาไหนก็เรียนได้ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้น และเทคนิคการทำข้อสอบ DEK68 เตรียมตัวตอนนี้ยังทัน !
บทความอื่นๆ เพิ่มเติม 👉 : OnDemand