รายละเอียดคอร์ส ชีววิทยา ม.ต้น เนื้อหา ระบบนิเวศและประชากร สอนโดย พี่วิเวียน ออนดีมานด์ จัดลำดับความคิด ตั้งแต่จุดเริ่มต้น มีเทคนิคช่วยจำ “Bio Map” เป็นตัวช่วย – สอนเนื้อหาทุกเรื่องอย่างละเอียด – สอนจับประเด็น คิดอย่างเป็นระบบ – เนื้อหากระชับ ครบถ้วน ครอบคุลมการสอบทุกสนาม
00:00:00 – 00:00:20 เนื้อหาเสริม
00:00:20 – 00:10:01 อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
00:10:01 – 00:12:58 อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)
พืชให้ประโยชน์กับมนุษย์อย่างมากมายนับตั้งแต่ให้อากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจ ให้เงาอันร่มเย็น เป็นตัวทำให้เกิดต้นน้ำลำธาร เป็นอาหาร เป็นเครื่องนุ่งห่ม เป็นยารักษาโรค ฯลฯ แต่พืชบางชนิดก็ให้โทษ เช่น แย่งอากาศหายใจในตอนกลางคืน บางชนิดจับแมลงกินเป็นอาหาร บางชนิดเป็นยาเสพติด สภาพแวดล้อมที่พืชขึ้นแตกต่างกันมากมาย ปัจจุบันรู้จักพืชประมาณ 300,000 สปีชีส์ ซึ่งรวมทั้งพืชน้ำ พืชบก เป็นต้น
ปัจจุบันอาณาจักรสัตว์จัดเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ บางพวกเซลล์ยังไม่รวมกลุ่มเป็นเนื้อเยื่อ เช่น พวกฟองน้ำ สิ่งที่เหมือนกันในกลุ่มสัตว์คือเป็นพวกเฮเทอโรโทรปซึ่งไม่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตัวเอง (heterotrophic organism) หรือในแง่ของนิเวศวิทยาจัดสัตว์ไว้ในกลุ่ม
ผู้บริโภค (consumer) ต้องได้อาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวเพื่อรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดี
กำเนิดของสัตว์อาณาจักรสัตว์ การศึกษาเสนอว่าบรรพบุรุษของสัตว์มีวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษของฟังไจ โดยบรรพบุรุษร่วมอาจมีลักษณะคล้ายโคแอนโนแฟลเจลเลต (choanoflagellate) ในปัจจุบัน แต่หลักฐานแรกทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ที่ยอมรับได้มีลักษณะคล้ายสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) พบซากดึกดำบรรพ์มากขึ้นในต่อๆ มา ซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของสัตว์อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีแก๊สออกซิเจนมากพอที่สัตว์ใช้ในการดำรงชีวิต ทำให้สัตว์ต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอด
โดยทั่วไปเราสามารถแยกสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์ได้โดยใช้ลักษณะดังต่อไปนี้
บางช่วงของชีวิต เช่น ฟองน้ำ ในระยะเป็นตัวอ่อนจึงจะมีการเคลื่อนที่
พวกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้โดยใช้ช่องว่างลำตัว (Coelom)
ก. พวกที่ไม่มีช่องว่างในลำตัว (acoelomate) คือไม่มีช่องว่างในชั้นของเนื้อเยื่อหรือระหว่าง
ชั้นของเนื้อเยื่อ ได้แก่ หนอนตัวแบน
ข. พวกที่มีช่องว่างเทียมในลำตัว (pseudocoelomate) คือช่องว่างที่ไม่ได้อยู่ในเนื้อเยื่อ
ชั้นกลาง (mesoderm) ช่องว่างนั้นอาจอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอก (ectoderm) กับ
เนื้อเยื่อชั้นกลาง หรืออยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นกลางกับเนื้อเยื่อชั้นใน (endoderm) สัตว์ใน
กลุ่มนี้ได้แก่ หนอนตัวกลม บางพวกมีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ได้แก่ หนอนตัวกลม โรติเฟอร์
ค. พวกที่มีช่องว่างที่แท้จริง (coelomate) คือช่องว่างอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นกลาง
(mesoderm) ได้แก่ กุ้ง ปู แมลง หอย ไส้เดือนดิน และสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นต้น
3. สมมาตร (symmetry) การแบ่ง 2 ซีก ที่มีลักษณะเหมือนกันเรียกว่า สมมาตร แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
4. โครงร่างแข็งหรือกระดูก (skeleton) บางชนิดมีโครงร่างแข็งอยู่นอกร่างกาย (exoskeleton) เช่น กุ้ง ปู บางชนิดมีโครงร่างแข็งอยู่ภายในร่างกาย (endoskeleton) เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (chordate)
5. การมีปล้อง (segmentation) ที่เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นกลางสัตว์ที่ไม่มีปล้อง ได้แก่ ฟองน้ำ แมงกะพรุน เป็นต้น ส่วนสัตว์ที่มีปล้อง ได้แก่ ไส้เดือนดิน สัตว์ที่มีขาเป็นปล้อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง
6. ทางเดินอาหาร ทางเดินอาหารของสัตว์สามารถใช้เป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่มสัตว์ได้
ก. ใช้ช่องทางเดินน้ำแทนทางเดินอาหาร (spongocoel) พบในฟองน้ำ
ข. ทางเดินอาหารที่มีทางเข้าออกทางเดียวกันช่องว่างนี้เรียกว่าช่อง
แกสโทรวาสคิวลาร์ (gastrovascular cavity) ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ลำเลียง หายใจ และ
ขับถ่าย ได้แก่ ไฮดรา ปะการัง แมงกะพรุน
ค. ทางเดินอาหารชนิดสมบูรณ์มีทางเข้าทางหนึ่งและทางออกอีกทางหนึ่ง ทำหน้าที่ย่อย
อาหารอย่างเดียว ส่วนใหญ่พบในสัตว์ที่มีสมมาตรชนิดครึ่งซีก ยกเว้นหนอนตัวแบน
7. การสืบพันธุ์ มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในสัตว์ชั้นต่ำ เช่น ฟองน้ำ ไฮดรา แมงกะพรุน ในสัตว์ชั้นสูงจะมีการสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
8. การเปลี่ยนแปลงของบลาสโทพอร์ (blastopore) บลาสโทพอร์ที่เกิดในระยะแกสตรูลา (gastrula) ของตัวอ่อนจะมีการเปลี่ยนแปลง 2 แบบ คือ แบบโพรโทสโทเมีย (protostomia) คือพวกที่บลาสโทพอร์เจริญไปเป็นปาก และแบบดิวเทอโรสโทเมีย (deuterostomia) คือพวกที่บลาสโทพอร์เจริญไปเป็นทวารหนัก
9. การเจริญในระยะตัวอ่อน ในสัตว์พวกโพรโทสโทเมียมีการเจริญของตัวอ่อน 2 แบบ คือ แบบที่มีตัวอ่อน (larva) ระยะโทรโคฟอร์ (trochophore) เรียกว่าพวกโลโฟโทรโคซัว (lophotrochozoa) และกลุ่มที่มีการลอกคราบ (ecdysis) ระหว่างการเจริญเติบโตเรียกว่าพวกเอกไดโซซัว (ecdysozoa)