ประชากรของสิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีรูปแบบการสืบพันธุ์เพื่อเพิ่มประชากรอยู่ 2 รูปแบบ คือ แบบแรกเป็นการเพิ่มประชากร โดยที่สมาชิกของประชากรนั้นม การสืบพันธุ์เพียงครั้งเดียวในช่วงชีวิต (single reproduction) สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ก็จะออกลูกออกหลานจากนั้นก็ตาย ตัวอย่างเช่น แมลงต่างๆ เช่น แมลงชีปะขาว ผีเสื้อ และตัวไหม เป็นต้น หรือไม้ล้มลุกบางชนิด เช่น คะน้า กวางตุ้ง ข้าว และถั่วเขียว เป็นต้น แบบที่สองเป็นการเพิ่มประชากรโดยสมาชิกของประชากรนั้นมีโอกาสในการสืบพันธุ์ได้หลายครั้งในช่วงชีวิต (multiple reproduction) สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น สุนัข แมว มนุษย์ ไม้พุ่ม เช่น ชบา แก้ว เข็ม และไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ขนุน ส้ม ลำไย เป็นต้น
นักนิเวศวิทยาได้นำแบบแผนทางคณิตศาสตร์ที่อธิบายการเพิ่มของประชากรจากรูปแบบการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั้ง 2 แบบนั้น ซึ่งแบบแผนทางคณิตศาสตร์นี้ช่วยให้สามารถทำนายแนวโน้มของการเพิ่มของประชากรได้ แบบแผนการเพิ่มของประชากรมี 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้