ประเด็นข้อสอบ GAT ที่ออกบ่อย ในช่วงปี 59-64
1 ประโยค 2 คำเชื่อม
ออกทั้งหมด 12 ครั้ง
ตัวอย่าง : A เกิดจาก การกระทำต่างๆ ของ B คือ B1 B2 และ B3
จากตรงนี้อ่านปุ๊บ น้องๆ อาจเลือกโยง “B ทำให้เกิด A” และนั่นทำให้น้องๆ พลาด! เพราะ Keyword ที่ซ่อนอยู่ คือคำว่า “ต่างๆ” เป็นการชี้เฉพาะลงไปว่า ต้องมีมากกว่าหนึ่งอย่างที่ทำให้เกิด A
คำตอบที่ถูกจึงเป็น B1 B2 และ B3 ทำให้เกิด A
ส่วน “B คือ B1 B2 และ B3” นั้นแปลว่า B มีองค์ประกอบเป็น B1 B2 และ B3
ซึ่งที่น้องๆ อาจตอบผิดก็เป็นเพราะประโยคนี้ มี “2 คำเชื่อม” หลอกล่อน้องอยู่ คือคำว่า “เกิดจาก” และคำว่า “คือ” จนมองไม่เห็นคำว่า “ต่างๆ” นั่นเอง
โยงตัวแม่หรือตัวลูก
ออกทั้งหมด 7 ครั้ง
ตัวอย่าง : พฤติกรรมที่ดี01 เช่น ขับรถไม่เกินความเร็วที่กำหนด02 ใส่หมวกกันน็อค03 ตรวจสภาพรถทุกปี04 และ เมาไม่ขับ05 ซึ่งพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้ลด อุบัติเหตุ06 ได้
พออ่านโจทย์นี้หลายคนตัดสินใจลำบาก วิธีง่ายๆ ที่ช่วยได้ คือ หาตัวแม่และตัวลูก ก่อนครับ
ตัวลูกคือ 02, 03, 04, 05 ส่วนตัวแม่คือ 01 การเชื่อมโยงจะอยู่ที่คำว่า “พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้ลดอุบัติเหตุ06 ได้” โดยพฤติกรรมต่างๆ ก็คือ 02, 03, 04, 05 เป็นตัวลูกที่โยงยับยั้ง 06 ครับผม
โยงก่อนอธิบายทีหลัง
ออกทั้งหมด 5 ครั้ง
ตัวอย่าง : A มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ B เติบโต
ตรงนี้ เราอาจเผลอโยง “A ทำให้เกิด B” แต่สิ่งที่น้องพลาด ก็คือคำว่า “มีปัจจัยหลายอย่าง” ซึ่งปัจจัยเหล่านั้นอาจมีการอธิบายหลังประโยคอีกที อาจจะอยู่ย่อหน้าถัดไป หรือท้ายบทความก็ได้เช่นกัน! ฉะนั้น ระวังประโยคแนว “โยงก่อนอธิบายทีหลัง” กันให้ดีนะครับ
คำว่า “เป็น”
ออกทั้งหมด 2 ครั้ง
ตัวอย่าง :
แป้ง เป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต… , เนื้อสัตว์ เป็นสารอาหารประเภทโปรตีน…, เนย เป็นสารอาหารประเภทไขมัน…
คำว่า “เป็น” เพียงคำๆ เดียวนั้นไม่ใช่คำเชื่อมโยง จึงถูกนำมาใช้เพื่อทำให้สับสนว่าจะโยงองค์ประกอบไปที่ตัวไหน! (A โยงไปสารอาหาร หรือสารอาหารโยงไป A กันนะ?) เพราะฉะนั้น จะดูเพียงคำนี้แล้วเชื่อมโยงเป็นองค์ประกอบเลยไม่ได้ แต่ต้องดูการอธิบายในบทความด้วย
จากโจทย์ที่ยกตัวอย่างมา จะมีประโยคก่อนหน้านี้ว่า “มีอาหารใดบ้างที่เป็นองค์ประกอบของสารอาหารดังต่อไปนี้…” เราก็สามารถโยงเป็น “แป้ง เป็นองค์ประกอบของ คาร์โบไฮเดรต” ได้ครับ
แนวข้อสอบ GAT ที่ออกบ่อย ในช่วงปี 59-64
สังคมและเศรษฐกิจ = จำนวน 6 ครั้ง
เกษตรกรรมและอาหาร = จำนวน 4 ครั้ง
ธรรมชาติและปัญหาสิ่งแวดล้อม = จำนวน 3 ครั้ง
เทคโนโลยี = จำนวน 1 ครั้ง
ดูเผินๆ อาจไม่สำคัญ แต่อย่าลืมว่า “บริบท” ของแนวข้อสอบ มีผลต่อการทำโจทย์นะครับ ฉะนั้นสำหรับปี 65 นี้ ลองเดากันเล่นๆ สิว่า GAT จะเน้นออกแนวไหนมากที่สุด!
แม้ว่าการพิชิตข้อสอบ GAT จะเน้นการฝึกทำโจทย์ให้เชี่ยวชาญ แต่ข้อมูลเหล่าก็ถือเป็นตัวช่วยให้น้องๆ ศึกษาบริบทต่างๆ ของโจทย์ และเพิ่มความระมัดระวังในการทำข้อสอบมากขึ้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆ ทุกคนนะครับ
สำหรับที่อยากติว GAT เชื่อมโยงและ GAT Eng แบบเร่งรัด เรามีงาน “ติวติดจอ” เสิร์ฟเคล็ดลับแบบสดๆ ร้อนๆ ให้ถึงที่ สนใจเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ -> คลิก
ส่วนใครที่อยากพิชิตข้อสอบ GAT ให้ลุล่วงในปีนี้ ลองเข้ามาดูรายละเอียดกันได้ที่ -> คลิก
อย่าลืมกด LIKE 👍 Facebook Fanpage ของ ออนดีมานด์ OnDemand สถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ เพื่อไม่ให้พลาด สาระดีๆ ข่าวสาร และสิทธิพิเศษ นะคร้าบบ