สรุปเนื้อหา ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (ฟิสิกส์อะตอม ม.6)

ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ม.6 | ตัวอย่างคอร์สเรียน ฟิสิกส์ ม.ปลาย | OnDemand

รายละเอียดคอร์ส ฟิสิกส์อะตอม ฟิสิกส์แผนใหม่ สอนโดย : พี่เกรท ออนดีมานด์
– เนื้อหาเข้มข้น ครบทุกรายละเอียด ตรงตามหลักสูตร
– สอนวิเคราะห์โจทย์ และวิธีแก้อย่างมีประสิทธิภาพ
– เทคนิค Supermap สรุปสูตรเป็นภาพ เน้นความเข้าใจไม่ท่องจำ
– ช่วยเสริมการเก็บคะแนนสอบในห้องเรียน และปูพื้นให้แน่นพร้อมสำหรับสนามสอบอื่นๆ

00.00.00-overview
00.07.56-โฟโตอิเล็กทริก

ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (Photoelectric Effect)

การมองแสงเป็นอนุภาคทำให้อธิบายการปลดปล่อยอิเล็กตรอนจากผิวโลหะได้
โดยโฟตอน 1 ตัว กระเทาะอิเล็กตรอนได้ 1 ตัว
หลักการ
  1. ถ้าพลังงงานแสง (hfhf) น้อยกว่าฟังก์ชันงาน WW (พลังงานยึดเหนี่ยวอิเล็กตรอนไว้กับเป้าโลหะ) อิเล็กตรอนจะไม่หลุด
  2. ถ้าพลังงานแสง (hfhf) เท่ากับฟังก์ชันงาน WW (พลังงานยึดเหนี่ยวอิเล็กตรอนไว้กับเป้าโลหะ) อิเล็กตรอนจะหลุดพอดีโดยมีพลังงานจลน์เท่ากับศูนย์ ความถี่ของแสงที่ค่าพลังงานนี้เรียกว่าความถี่ขีดเริ่ม
  3. ถ้าพลังงาน (hfhf) แสงมากกว่าฟังก์ชันงาน WW (พลังงานยึดเหนี่ยวอิเล็กตรอนไว้กับเป้าโลหะ) อิเล็กตรอนจะหลุดแบบมีพลังงานจลน์ EE 
 
สรุปเป็นสูตรได้ว่า
E=hfWE = hf-W