สวัสดีครับน้องๆ วันนี้เราจะมาในหัวข้อเรื่อง “ระหว่างหมอและวิศวะ จะเลือกเรียนอะไรดี?” คำถามนี้เป็นคำถามโลกแตกก็ว่าได้ เพราะมีน้องๆ หลายคนถามกันเยอะมากครับ เลือกไม่ถูก ตัดสินใจไม่ได้ ควรเรียนต่ออะไร จบมาแล้วทำงานอะไร เราจะเหมาะกับงานหรือไม่ หมอมั่นคงกว่าวิศวกรจริงหรือไม่ น้องๆ น่าจะมีคำถามเกิดขึ้นมากกาย โดยเฉพาะน้องๆ ม.ปลาย ที่ต้องตัดสินใจเลือกคณะที่อยากเรียน วันนี้พี่ๆ ออนดีมานด์จะมาแนะแนวทางให้น้องๆ ได้ตัดสินใจง่ายขึ้น ว่าน้องควรจะเลือกเรียนหมอหรือวิศวะ ดี
มาครับ พร้อมกันหรือยัง!? มาดูปัจจัยที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจกัน ระหว่างอ่านไป พี่อยากให้น้องๆ คิดตามไปด้วยว่าแบบไหนที่ใช่เรา หรือแบบไหนที่ไม่เหมาะกับเรา
1. ความถนัดของตัวเอง
ก่อนอื่นให้น้องถามตัวเอง สังเกตตัวเองว่าชอบเรียนอะไร อยากเป็นอะไร อย่าเรียนตามค่านิยมหรือกระแสสังคม เพราะถ้าต้องเรียนคณะที่ตัวเองไม่ชอบ ก็จะมีปัญหากับอนาคตของตัวเอง และมีความลำบากตามมาทีหลัง หากน้องอยากเรียนวิศวะเพราะอยากเป็น และชอบวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์อยู่แล้ว ก็ถือว่าตอบโจทย์ ควรเรียนอย่างลึกซึ้ง และประยุกต์ใช้ให้เป็น หรือถ้าน้องมีความถนัดทางด้านวิทยาศาตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ก็สามารถไปสายหมอได้ แต่ก็ต้องถามตัวเองเช่นกันว่าเราอยากเรียนสายนี้จริงหรือไม่
2.ลักษณะงานหมอและวิศวะ
ลักษณะงานของหมอ
ถ้าอยากเป็นหมอ บอกก่อนเลยว่าเราต้องมีใจบริการ ทำงานเพื่อรับใช้สังคมของจริง ต้องเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อคนอื่น หมอเป็นอาชีพที่ต้องดูแลชีวิตของคน อย่าคิดถึงแต่เรื่องรายได้ว่าอยากเรียนหมอเพราะหมอมีรายได้ดี ถ้าน้องไม่ได้ชอบด้านนี้จริงๆ น้องอาจจะเรียนไม่ได้นานนะครับ
ลักษณะงานของวิศวะ
งานด้านวิศวะนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละสายงาน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเน้นไปที่ การออกแบบ การคิดวิเคราะห์ และการพัฒนาครับ งานด้านวิศวะมีพวกเทคโนโลนีเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องคอยพัฒนา และแก้ปัญหางาน
3.ระยะเวลาเรียนไม่เท่ากัน
หมอใช้เวลาเรียน 6 ปี
สำหรับการเรียนหมอ วิชาที่เรียนกันในปี 1 นั้นจะเน้นไปที่วิชาพวก คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เป็นหลัก แต่จะยากกว่าตอนเรียน ม.ปลายครับ ปี 2 เป็นปีที่เริ่มเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับหมอเยอะขึ้น เรียนรู้พวกโครงสร้างร่างกายและการทำงานของระบบร่างกาย ต้องอ่านหนังสือเยอะขึ้นครับ ปี 3 น้องจะต้องเริ่มเรียนเกี่ยวกับโรคต่างๆ ลักษณะของโรคและระบบร่างกาย ที่สำคัญมีการสอบใบประกอบโรคของแพทย์ขั้นที่ 1 ที่น้องต้องใช้ความรู้ที่เรียนมาในปี 2 และ 3 ทั้งหมด ปี 4 น้องจะเริ่มเรียนรู้บนหอผู้ป่วย และจะได้ความรู้ที่ต่างกันไป ได้ประสบการณ์มากขึ้น ปี 5 นั้นเรียนเหมือนปี 4 และจะต้องสอบใบกระกอบโรคของแพทย์ขั้นที่ 2 และปีที่ 6 น้องจะต้องทำงานเหมือนหมอ โดยมีอาจารย์แพทย์คอยดูแลอย่างห่างๆ
วิศวะใช้เวลาเรียน 4 ปี
ส่วนใหญ่แล้วเข้าไปปี 1 น้องๆ จะเรียนเหมือนกันหมด และจะมีการแยกไปเรียนแต่ละภาควิชาตอนปี 2 แต่บางสถาบันก็แยกภาควิชาตั้งแต่ปีแรกที่เรียนเลย ซึ่งภาควิชานั้นมีหลากหลายมากเช่น วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมโยธา, วิศวกรรมเหมืองแร่, วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, วิศวกรรมอุตสาหการ, วิศวกรรมเกษตร, วิศวกรรมคอมพิวเตอร์, และวิศวะกรรมเคมี เป็นต้น
4.เงินเดือนหมอและวิศวะ
หากว่ากันตามตรง ค่าเฉลี่ยเงินเดือนหมอนั้นมากกว่าเงินเดือนวิศวะ ตัวอย่างเช่นแพทย์ทั่วไปที่ไม่ได้จบเฉพาะทาง ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐ จะได้เงินเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 40,000 – 60,000 บาท แต่ถ้าเป็นเอกชน จะได้เงินเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 80,000 – 140,000 บาท เป็นต้น ส่วนเงินเดือนวิศวะ กรณีจบใหม่จะเฉลี่ยอยู่ที่ 20,000 – 50,000 ขึ้นอยู่กับสายงาน ซึ่งเงินเดือนจะขึ้นตามประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นครับ สาเหตุที่เงินเดือนหมอนั้นมากกว่าเพราะ หมอทำงานแทบจะตลอดเวลา เวลาพักผ่อนน้อยมาก ซึ่งวิศวะจะมีเวลาเลิกงานที่ชัดเจนกว่า และเวลาพักผ่อนที่เยอะกว่าครั
หลังจากที่น้องๆ ได้อ่านปัจจัยเหล่านี้แล้ว พี่อยากให้น้องๆถามตัวเองดู และคิดให้ถี่ถ้วนก่อนจะเลือกเรียนหมอหรือวิศวะนะครับ เรียนเพราะชอบ ใจรัก หรือเรียนเพราะตามเพื่อน ค่านิยม ตอบตัวเองให้ได้ และถ้าใครยังสับสน ไม่แน่ใจ มางานนี้รับรองมีคำตอบแน่นอนครับ