มอดูลัสของยัง (Young’s Modulus) คือ อัตราส่วนระหว่างความเค้นตามความยาวกับ ความเครียดตามยาวของวัตถุ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ Y หรือหาได้จาก ความชันของกราฟระหว่าง ความเค้นและความเครียด
ค่ามอดูลัสของยัง (Y) และขีดจำกัดสภาพยืดหยุ่น เป็นสมบัติเฉพาะตัวของวัสดุชนิด นั้นๆ โดยวัสดุแต่ละชนิดจะมีสมบัติในการรับแรงและเปลี่ยนรูปร่างแตกต่างกัน จึงต้องพิจารณาสมบัติ สภาพยืดหยุ่นของวัสดุที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสมกับงาน
Y มาก ทนต่อความเค้นได้มาก เปลี่ยนแปลงรูปร่างยาก Y น้อย ทนต่อความเค้นได้น้อย เปลี่ยนแปลงรูปร่างง่าย
ความเค้นที่ขีดจำกัดสภาพยืดหยุ่นจะบอกให้ทราบว่าวัสดุนั้นสามารถทนต่อแรง ภายนอกมากที่สุดเท่าใด โดยที่สามารถคืนกลับสู่สภาพเดิมได้
</span><span style="font-weight: 400;">Y=\dfrac{\sigma}{\varepsilon}=\dfrac{\dfrac{F}{A}}{\dfrac{\Delta L}{L}}=\dfrac{F}{A} \dfrac{L}{\Delta L}</span><span style="font-weight: 400;">
ความดัน (Pressure) คือ ขนาดของแรงที่กระทำตั้งฉากลงบนพื้นที่หนึ่งตารางหน่วย
ความดันเป็นปริมาณสเกลาร์ในระบบ SI มีหน่วยเป็น นิวตัน/ตารางเมตร หรือพาสคัล (Pa)
ความดันบรรยากาศ (Atmospheric Pressure) คือ ความดันของอากาศที่อยู่รอบๆ ตัวเรา หรือความดันบรรยากาศที่อยู่เหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำ เขียนแทนด้วย “Pa ”
ความดันเกจ (Gauge Pressure) คือ ความดันในของเหลวซึ่งเกิดจากน้ำหนักของของเหลวที่กด ณ ตำแหน่งนั้นๆ
ความดันสัมบูรณ์(Absolute Pressure) เราทราบอยู่แล้วว่าบรรยากาศรอบๆ ตัวเรานั้นมีความดัน ดังนั้น ที่ผิวหน้าของของเหลวที่สัมผัส กับอากาศย่อมมีความดันของบรรยากาศกระทำอยู่ด้วย ความดันอันเนื่องจากน้ำหนักของของเหลว (ความดันเกจ) รวมกับความดันของบรรยากาศ เรียกว่า ความดันสัมบูรณ์ในของเหลว เขียนเป็นสมการได้เป็น
P_{\text {สัมบูรณ์}}=P_{g}+P_{a} = \rho gh + P_{a}