การแยกตัวประกอบพหุนาม (Polynomial factorization) คือ การเขียนพหุนามในรูปการคูณกันของพหุนามที่มีดีกรีต่ำกว่า ตั้งแต่สองพหุนามขึ้นไป หรือเขียนพหุนามในรูปที่ง่ายกว่า
แบ่งออกเป็น 7 ทักษะดังนี้
ทักษะที่ 1 การจัดกลุ่ม และการดึงตัวร่วม
หลักการ หาตัวประกอบร่วมของทุกพจน์ แล้วดึงออกมาเขียนในรูปผลคูณ
เช่น a+ab+da^2 = a(1+b+da)
ทักษะที่ 2 การจับคู่ดึงตัวร่วม
หลักการ จับคู่พจน์ของพหุนาม แล้วดึงชั้นแรกก่อน จึงสามารถดึงต่อได้ในขั้นถัดไป (ดึงหลายชั้น)
เช่น ab-ad+cb-cd = a(b-d)+c(b-d)
= (a-c)(b-d)
หรือ ab-ad+cb-cd = b(a-c)-d(a-c)
= (b-d)(a-c)
ทักษะที่ 3 แยกสองวงเล็บ เมื่อพหุนามอยู่ในรูป Ax^2+Bx+C
หลักการ เป็นการย้อนทางกลับ ผลคูณของพหุนามดีกรี 1 สองวงเล็บ
เช่น เรารู้ว่า (x+3)(x+2) = x^2 +3x +2x +6 = x^2+5x+6
ถ้าแยกตัวประกอบของ x^2+5x+6 จะได้ (x+3)(x+2)
การแยกสองวงเล็บ ไม่จำเป็นต้องให้ดีกรีสูงสุดเป็น 2 เสมอไป แค่ให้เลขชี้กำลังของพจน์ที่มีดีกรีสูงสุดเป็นสองเท่าของพจน์ที่มีดีกรีรองลงมา
แบบที่ 1 : สัมประสิทธิ์ของ x^2 เป็น 1
หลักการ พิจารณาตัวประกอบของพจน์ที่เป็นค่าคงที่
เลือกตัวประกอบคู่ที่บวกกันแล้วได้สัมประสิทธิ์ของพจน์ที่ xมีดีกรี 1 (พจน์กลาง)
เช่น x^2-5x+6
แยกตัวประกอบของ 6 คือ (2)(3), (6)(1), (-2)(-3), (-6)(-1)
สัมประสิทธิ์ของพจน์กลาง คือ -5 ซึ่งมีค่าเท่ากับ (-2)+(-3) = -5
ดังนั้น x^2-5x+6 =(x-2)(x-3)
แบบที่ 2 : สัมประสิทธิ์ของ x^2 (พจน์ที่มีดีกรีสูงสุด) ไม่ใช่ 1
หลักการ ต้องพิจารณาตัวประกอบของพจน์ที่มีดีกรีสูงสุดด้วย
พจน์กลาง = (ใกล้)(ใกล้)+(ไกล)(ไกล)
เช่น 3A^2+5A-2
แยกตัวประกอบของ -2 คือ (-2)(1) หรือ (2)(-1)
แยกตัวประกอบของ 3A^2 คือ (3A)(A) หรือ (-3A)-(A)
ใช้ (3A)(A) กับ (2)(-1)
จะได้ (3A+2)(A-1)
ทักษะที่ 4 กำลังสองสมบูรณ์
หลักการ วิธีทำแบบเดียวกับแยก 2 วงเล็บ คือเมื่อแยก 2 วงเล็บแล้ว ได้ทั้งสองวงเล็บเหมือนกัน
(A\pm B)^2 = A^2\pm 2AB+B^2
ทักษะที่ 5 ผลต่างกำลังสอง
หลักการ A^2-B^2 = (A-B)(A+B)
ทักษะที่ 6 ใช้กำลังสองสมบูรณ์ร่วมกับผลต่างกำลังสองช่วยในการจัดรูป
แบบที่ 1 เพิ่มลดพจน์ท้าย
ตัวอย่างที่ 1 x^2+6x+3
สังเกตที่พจน์กลาง \frac{6x}{2}=3 แสดงว่าพจน์ท้ายเป็น 3^2 = 9
จะจัดรูปเป็นกำลังสองสมบูรณ์ได้เมื่อ x^2+6x+9 = (x+3)^2
จาก x^2+6x+3 = x^2+6x+3+9-9
=(x+3)^2+3-9
=(x+3)^2-(\sqrt{6})^2
=(x+3+\sqrt{6})(x+3-\sqrt{6})
ตัวอย่างที่ 2 2x^2+5x-4
จะยังไม่สังเกตพจน์กลางทันที แต่ทำให้สัมประสิทธิ์หน้า x^2 เป็น 1 ก่อน โดยการดึงตัวร่วมจะได้
2x^2+5x-4 =2(x^2+\frac{5x}{2}-2)
=2(x^2+\frac{5x}{2}+\frac{25}{16}-\frac{25}{16}-2)
=2[(x+\frac{5}{4})^2-\frac{25}{16}-2]
=2[(x+\frac{5}{4})^2-\frac{25}{16}-\frac{32}{16}]
=2[(x+\frac{5}{4})^2-\frac{57}{16}]
=2(x+\frac{5}{4}-(\sqrt{\frac{57}{16}}))(x+\frac{5}{4}+(\sqrt{\frac{57}{16}}))
แบบที่ 2 เพิ่มลดพจน์กลาง
ตัวอย่าง x^2+4
จะได้ x^2+4 = x^2+4+4x-4x
= (x+2)^2-4x
= (x+2)^2-(\sqrt{4x})^2
= (x+2-\sqrt{4x})(x+2+\sqrt{4x})
ทักษะที่ 7 ผลบวก และผลต่างกำลังสาม
หลักการ (A+B)^3 = (A+B)(A^2-AB+B^2)
(A-B)^3 = (A-B)(A^2+AB+B^2)