อยากเป็นหมอ ต้องรู้จักไว้ 10 สาขาวิชาแพทยศาสตร์ น่าเรียน เรียนเกี่ยวกับกับอะไรบ้าง
1. แพทย์กระดูก : แพทย์ออร์โธปิดิกส์ (Orthopedics) หรือหมอกระดูกและข้อ คือหมอที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษากระดูก ข้อ ต่าง ๆ รวมถึงกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นของแขนขาและกระดูกสันหลัง ไม่ว่าจะเป็นอาการกระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน ฯลฯ โดยปกติมักทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพรายอื่น และมักจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเมื่อจำเป็นต้องใช้บริการ
ปัจจุบันมีสาขาเฉพาะทางแพทย์กระดูกย่อยในออร์โธปิดิกส์ดังนี้
1. ข้อสะโพกและข้อเข่า (Hip and Knee Surgery) หรือมีอีกชื่อว่า ออร์โธปิดิกส์บูรณสภาพ (Adult Reconstruction) ประกอบด้วยการตัดต่อกระดูกใหม่ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม
2. กระดูกสันหลัง (Spine Surgery) เป็นการผ่าตัดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันตั้งแต่คอจนถึงก้นกบ
3. เวชศาสตร์การกีฬา (Sport Surgery) เป็นการผ่าตัดซ่อม สร้างเส้นเอ็นของข้อต่อต่าง ๆ เช่น ข้อเข่า สะโพก ไหล่ ข้อเท้า เป็นต้น โดยใช้อุปกรณ์กล้องส่องเข้าไปในข้อ (Arthroscopic surgery)
4. การบาดเจ็บกระดูกและกล้ามเนื้อ (Trauma) เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษากระดูกหัก โดยการดามโลหะชนิดต่าง ๆ
5. ข้อมือและมือ (Wrist and Hand) ผ่าตัดรักษาตั้งแต่ข้อมือ มือ นิ้วมือ ทุกรูปแบบ
6. ข้อเท้าและเท้า (Ankle and foot) ผ่าตัดรักษาที่เกี่ยวกับความผิดปกติของข้อเท้าและเท้า
7. กระดูกเด็ก (Pediatric) รักษาภาวะผิดปกติของกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 18 ปี
8. เนื้องอกและมะเร็ง (Tumors) ผ่าตัดรักษาเกี่ยวกับเนื้องอกและมะเร็งของกล้ามเนื้อและกระดูก
9. เมตาบอลิก (Metabolic) รักษาเกี่ยวกับปัญหาและภาวะโรคกระดูกพรุน ความผิดปกติของการเปลี่ยนแปลงกระดูก (สร้างกระดูกทำลายกระดูก)
ทั้งนี้ ในอนาคตอาจมีสาขาใหม่เกิดขึ้นแยกย่อยออกไปอีก โดยอาจมีการผสมผสานศาสตร์ทางด้านวิศวกรรม หรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพด้วย
2. ศัลยแพทย์หัวใจ (Cardiac Surgeon) หรือบางครั้งจะเรียกว่า “ศัลยแพทย์หัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Surgeons) เป็นแพทย์ที่รักษาโรคหัวใจด้วยวิธีผ่าตัด การผ่าตัดหัวใจในประเทศอื่น ๆ เรียกว่าการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด (จากทรวงอกกรีก – เต้านม) โดยศัลยแพทย์หัวใจจะทำหน้าที่รักษา วินิจฉัย ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหัวใจวาย และลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น แพทย์ทางด้านนี้จึงต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษโดยเฉพาะเรื่องการผ่าตัด จึงทำให้แพทย์ทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดมีรายได้เฉลี่ยต่อปี สูงมาเป็นอันต้นๆ ของประเทศไทย
3. ศัลยแพทย์ทั่วไป (General Surgeon) หรือทั่วไปเรียกหมอผ่าตัด ทั้งนี้ศัลยแพทย์แบ่งย่อยอีก เช่น ประสาทศัลยแพทย์ (หมอผ่าสมอง) ศัลยแพทย์อุบัติเหตุ กุมารศัลยศาสตร์ (หมอผ่าตัดเด็ก) และอื่นๆ
ในส่วนของศัลยแพทย์ทั่วไปจะทำหน้าที่ในการผ่าตัดอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ไส้ติ่ง กระเพาะ ลำไส้ ถุงน้ำดี และม้าม เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการผ่าตัดเล็กต่างๆ อีกด้วย
4. วิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologist) หรือที่เรียกกันว่า “หมอวางยาสลบ” ผู้ทำหน้าที่วางยาสลบ ยาชา บล็อกไขสันหลัง ฯลฯ ต้องเป็นแพทย์ผู้ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยให้มีความปลอดภัยและเจ็บน้อยที่สุด ทั้งนี้วิสัญญีแพทย์ต้องทำหน้าที่เลือกยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยด้วย
5. สูตินรีแพทย์ (Gynecologist) มีบทบาทในการทำคลอดและตรวจรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับสตรี โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ จึงอาจเรียกว่า “หมอตรวจภายใน” โดยมีหน้าที่ครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษาเรื่องการมีบุตรและการผ่าตัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง
6. แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (urologist) จะหน้าที่ในการตรวจ วินิจฉัย และรักษาโรคเฉพาะทางระบบเดินปัสสาวะทั้งหมด ระบบอวัยวะที่สำคัญภายในคือ “ตับและไต” สำหรับใครที่จะเลือกเรียนต่อแพทย์ในสาขานี้ ต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับโรคทั้งหมดที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะทั้งตับและไตให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งหมดของเพศชายด้วย ได้แก่ องคชาติ อัณฑะ ถุงอัณฑะ ท่ออสุจิ ต่อมลูกหมาก และถุงน้ำกาม เพราะเมื่อผู้ชายที่ป่วยเป็นโรคทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง ก็จะส่งผลต่อระบบไตด้วย
7. ศัลยแพทย์ช่องปาก (Oral and Maxillofacial Surgeons) ถือเป็นส่วนนหนึ่งของวิชาทันตแพทย์ที่ลงลึกกว่า ซึ่งจะทำการผ่าตัดเพื่อรักษาความผิดปกติของขากรรไกรใบหน้า ปากแหว่งเพดานโหว่ ดูแลระบบเคี้ยวอาหาร ดูแลอวัยวะภายในช่องปาก เช่น ผ่าตัดขากรรไกร ผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ปลูกฟัน และผ่าตัดเนื้องอกในช่องปาก
8. รังสีแพทย์ : จัดอยู่ในสาขารังสีวิทยา (radiology) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพสิ่งต่างๆ ของร่างกายเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค โดยจะต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษต่างๆ ทางการแพทย์ข้ามาช่วย ได้แก่ รังสีเอกซ์ (x-ray), รังสีแกมมา (Gamma ray) จากสารกัมมันตภาพรังสีคลื่นเสียง, คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Nuclear Magnetic Resonance Imaging) เป็นต้น
9. แพทย์เฉพาะทางด้าน ตา หู คอ จมูก โสตศอนาสิกวิทยา (Otolaryngology) เป็นแขนงหนึ่ง ของวิชาแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของหู, จมูก, กล่องเสียงหรือช่องคอ, ศีรษะและคอ ในบางครั้งอาจเรียกย่อได้ว่า อีเอ็นที (ENT; ear, nose and throat: หู จมูก และคอ) จากรากศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตแปลได้ว่า การศึกษาหู คอ และจมูก โดยหน้าที่ของแพทย์ด้านนี้ ต้องทำการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของหู จมูก กล่องเสียงหรือช่องคอ ศีรษะ และคอ โดยโรคที่เจอได้บ่อยๆ ก็คือ โรคไซนัสอักเสบ โรคนอนกรน โรคหูน้ำหนวก เจ็บในลำคอ ต่อมไทรอยด์ หรือโรคภูมิแพ้หู คอ จมูก เป็นต้น
10. ศัลยกรรมตกแต่ง (Reconstructive surgery) ในสมัยนี้ผู้คนต่างเริ่มยอมรับกับการทำศัลยกรรมพลาสติกกันมากขึ้น โดยที่ “Plastic Surgery” คือ แขนงวิชาเฉพาะสาขาของ “ศัลยศาสตร์ (Specialized Branch of Surgery)” ซึ่งแพทย์ด้านศัลยกรรมตกแต่ง จะศึกษาในเรื่องความผิดปกติของรูปร่าง ผิวหนัง รวมทั้งระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างของร่างกายด้วย
ที่มา : www.hotcourses.in.th