สำหรับน้องๆ ที่ตัดสินใจ “อยากเป็นหมอ” หรือแพทย์ ต่างรู้ดีว่ามันเป็นเส้นทางที่ต้องพยายามอย่างหนักตั้งแต่จุดเริ่มต้นเพื่อเข้ามหา’ลัย และเมื่อได้เข้าคณะแพทยศาสตร์แล้ว ก็ยังมีบทเรียนอีกมากมายที่น้องต้องเจอตลอด 6 ปี
สำหรับน้องๆ ที่พึ่งตั้งเป้า อาจจะส่งสัยว่า ทำไมคณะแพทย์ศาสตร์ต้องเรียนถึง 6 ปี ใช้เวลายาวนานกว่าคนอื่น และใน 6 ปีนั้นต้องเรียนอะไรบ้าง? วันนี้พี่ได้สรุปมาให้น้องแล้ว
อยากเป็นหมอ 6 ปี เรียนอะไรกันบ้าง
เรียนปี 1 ปรับพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ม.ปลาย
จะเน้นวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (ที่ใช้ในการแพทย์) เป็นหลัก ซึ่งคือการเรียนปรับพื้นฐานโดยใช้ความรู้จาก ม.ปลายเป็นส่วนใหญ่
เรียนปี 2 ก้าวสู่การเป็นแพทย์
เรียนรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของแพทย์เพิ่มขึ้น โดยเรียนเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายและระบบการทำงานของร่างกายอย่างละเอียด เช่น ระบบประสาท ระบบเลือด ฯลฯ นอกจากนี้ยังเรียน วิชาทางกายวิภาค สรีรวิทยา พันธุศาสตร์ เป็นต้น และยังได้พบกับอาจารย์ใหญ่และคำปฏิญาณด้วย
เรียนปี 3 เรียนร่างกาย
หลักภูมิคุ้มกัน , ปรสิตวิทยา, พยาธิทั่วไป, เวชศาสตร์ชุมชนฯ และยาขั้นพื้นฐาน ในเภสัชวิทยา
เรียนปี 4 ก้าวแรกสู่คลินิก
เป็นปีแรกที่ก้าวเข้าสู่ชั้นคลีนิก เรียนรู้และทดลองดูแลคนไข้จริงที่โรงพยาบาล ซึ่งจะได้วนไปตามวอร์ดต่างๆ จนครบ จะเป็นปีที่สนุก ต้องตื่นเช้าและนอนดึก เป็นปีที่ไม่มีเวลา เพราะจะเรียนหนักมากเช่นกัน
เรียนปี 5 หนักหน่วงเพื่อแพทย์
ในการเรียนของปีที่ 5 จะมีรูปแบบคล้ายปีที่ 4 คือแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย และวนไปตามวอร์ดต่างๆ ตลอดทั้งปี แต่จะเป็นวอร์ดที่ไม่เคยเจอในปี 4 เช่น แผนกจิตเวช, แผนกนิติเวช เป็นต้น
เรียนปี 6 Extern
ปีสุดท้าย ความฝันอยากเป็นหมอใกล้เป็นจริง จะได้ทำงานจริงเหมือนแพทย์ตามโรงพยาบาล ตรวจคนไข้รักษา เย็บแผลเอง ทำคลองเอง ทำการผ่าตัดเล็กๆ เรียกว่าได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาทั้งหมด และยังได้ไปฝึกที่โรงพยาบาลต่างจังหวัดด้วย เมื่อสอบ ก็จะได้จบมาเป็นหมอแล้ว
ทั้งนี้หลังจากเรียนจบ มาแล้ว ก็ยังมีการเรียนเฉพาะเจาะลึกของแต่ละด้าน ตามระดับ ซึ่งจะถูกเรียกแตกต่างกัน เช่น แพทย์ใช้ทุน (อินเทริ์น , Intern) / แพทย์ประจำบ้าน (เรสซิเด้นท์ , Resident) / แพทย์ประจำบ้านต่อยอด (เฟลโล่ชิป , Fellowship) / staff หรือเเพทย์ผู้จบเฉพาะทาง
แม้เนื้อหาการเรียนอาจจะดูไกลตัวจากน้องๆ ในตอนนี้ แต่สำหรับการสอบเข้า ถือว่าไม่ไกลเลย โดยเฉพาะการสอบจริยธรรมแพทย์ของ กสพท หรือ TPAT1 ที่น้องสมารถ…เตรียมตัวได้ ตั้งแต่ตอนนี้เลย!
อ่านเพิ่มเติม >> “TPAT1 กสพท. และ ความถนัดแพทย์ ” คืออะไร ?
ซึ่งก่อนที่น้องจะได้เข้าคณะแพทย์ จะต้องผ่านการสอบ กสพท หรือ TPAT1 เพิ่มเสริมทักษะ
– จริยธรรมแพทย์
– เชาวน์ปัญญา
– พาร์ทเชื่อมโยง
โดยทางออนดีมานด์ จะมีพี่วิเวียน ที่เป็นหมอจริงๆ มาสอนด้านจริยธรรมแพทย์ แท็กทีมกับพี่แท็ป และพี่แมน ขัดเกลาคอร์สความถนัดแพทย์ที่อยู่คู่เด็กแพทย์มาทุกรุ่น ถ้าไม่เชื่อตามส่องเทรนด์ในทวิตฯ #กสพท #ความถนัดแพทย์ ได้เลย!
ติดตามข่าวสารสำหรับสายแพทย์โดยเฉพาะได้ที่
https://www.facebook.com/medicalondemand