โค้งสุดท้ายแล้วสำหรับ #Dek65 !!! เหลืออีกเพียงเดือนเดียวก็จะต้องลงสนามสอบ เคมีสามัญ กันในวันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2565 เวลา 13.30น. – 15.00น. ณ สนามสอบที่น้องๆ แต่ละคนเลือกไว้ใน ระบบของ mytcas
วันนี้พี่ๆ ออนดีมานด์จะช่วยน้องๆ กันแบบสุดแรงใจ ด้วยการรวบรวมไกด์ไลน์ของพี่เคนจากทุกหนทุกแห่งมารวมไว้ในบทความนี้ ทั้ง ติวติดจอเคมีสามัญ65 / เคมีกูรูส่องดู Blueprint / และอื่นๆ เท่าที่จะหาฉกมาได้จากเพจ พี่เคน OnDemand
ใครยังเคว้งคว้างไม่มีจุดหมาย เดือนสุดท้ายควรอ่านตรงไหน ทวนอะไรให้ได้ตรงที่สุด มาอ่านบทความนี้ไปพร้อมๆ กันนะครับ เริ่มเลยยยยย !!!
เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ Blueprint เคมีสามัญ 65
เริ่มแรก น้องๆ ต้องดู Blueprint เคมีสามัญ 65 ว่าออกอะไรบ้าง บทไหนออกเป็นจำนวนกี่ข้อ โดยพี่ๆ ได้คัดลอกจากเว็ปไซต์ของทปอ. มาให้ตามภาพด้านบนเรียบร้อยแล้ว แต่จะสังเกตุได้ว่า Blueprint บอกแค่ภาพรวมบทใหญ่ว่าออกกี่ข้อ ไม่ได้เจาะลึกไปที่บทย่อยๆ ว่าออกอะไรบ้าง แต่ก็สามารถวิเคราะห์เพื่อการเตรียมตัวได้ 3 อย่างด้วยกัน
1) ข้อสอบบางข้อมีการบูรณาการระหว่างเนื้อหา
โจทย์บูรณาการเนื้อหาคือการออกข้อสอบแบบรวมหลายบทในคำถามเดียว เรื่องนี้สามารถเตรียมตัวได้โดยการทำข้อสอบเก่าตามแนวสสวท. ที่มีการบูรณาการโจทย์ ต้องฝึกทำโจทย์เยอะๆ เข้าไว้! และต้องเป็นแนวสสวท.ด้วยนะ จะได้ชินกับรูปแบบที่ออกสอบจริง ถ้าฝึกโจทย์แนวที่ที่อื่นออก อาจจะทำให้สับสน ใช้สมองเยอะเกินไปโดยใช่เหตุ
2) ต้องอ่านหนังสือเรียนสสวท.
ขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบ สามารถศึกษาได้จากเอกสารตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
หมายความว่าเนื้อหาที่ออกสอบจะออกตามหนังสือเรียนสสวท. เท่านั้น ไม่ออกเกินขอบเขต และน้องๆ ต้องอ่านเพื่อให้ชินกับการใช้ภาษาของสสวท. และแน่นอน! ต้องทำแบบฝึกหัดท้ายเล่ม! ทุกเล่ม! เพื่อดูแนวการตั้งโจทย์ของสสวท.ด้วย!
2) ต้องทำโจทย์จับเวลาเพื่อบริหารเวลาให้ดี
ใน Blueprint เขียนว่า มีข้อสอบปรนัย (5 ตัวเลือก) 40 ข้อ และอัตนัย (ระบายคำตอบที่เป็นตัวเลข) 5 ข้อ ต้องทำให้เสร็จภายในเวลา 90 นาที หรือ 1 ชั่วโมงครึ่ง เฉลี่ยแล้วตกข้อละ 2 นาที สิ่งที่เตรียมตัวได้คือ บริหารเวลา! ที่ต้องฝึกของใครของมัน เพราะน้องๆ แต่ละคนจะรู้ดีว่าตัวเองถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร พี่ๆ บอกได้แค่ “เก็บข้อที่ถนัดและมั่นใจว่าจะได้คะแนนที่สุดก่อน จะได้มีเวลาไว้ทำข้อยากๆ เยอะขึ้น และถึงแม้จะทำไม่ทัน หรือตอบผิดข้อที่ยากก็ยังมีคะแนนจากข้อที่ทำได้อยู่”
วิเคราะห์ โครงสร้างข้อสอบ เคมีสามัญ 64
ถ้าถามว่าดูข้อสอบปี 64 แล้วได้อะไร? คำตอบคือพี่เคนได้ให้ทางสว่างไว้แล้วว่า Blueprint ปี 65 มีโครงสร้างการออกข้อสอบ เหมือน-กัน-มาก ดังนั้นต้องดูสัดส่วนการออกให้ดี แต่ถึงแม้โครงสร้างจะคล้ายกันแต่พี่เคนบอกว่า “ปีที่แล้วออกง่าย ปีนี้ข้อสอบก็จะยากขึ้นเป็นธรรมดา” ฝึกทำข้อสอบปีที่แล้วได้ แต่ความยากให้จำเอาไว้ว่าปีนี้เพิ่มขึ้นอีก!
ส่วนข้อสอบอัตนัยมั่นใจได้ว่าจะไม่มี “เลขนัยสำคัญ” เพราะมีสิทธิ์ที่จะมีทศนิยมเกิน 2 ตำแหน่ง (ข้อสอบมีให้ฝนแค่ 2 ตำแหน่ง) ดังนั้นไม่ต้องทวนไปให้เสียเวลา
ดูเนื้อหาที่ออกสอบเยอะ 4 ปีย้อนหลังเป็นอย่างต่ำ
ดูแค่ปี 64 อาจจะยังไม่มั่นใจว่าจะจะเน้นตามนั้นดีไหม? ถ้างั้นมาดูเฉลี่ย 4 ปีย้อนหลังน้องจะเห็นแนวทางมากขึ้นว่าควรจะเก็บอะไรมากที่สุด พี่บอกไม่ได้ชัดๆ เพราะน้องต้องประเมินตัวเองไปด้วยว่าบทไหนถนัดมาก บทไหนไม่ค่อยถนัด แล้วเรียงลำดับความสำคัญรวมถึงเรียงลำดับการทำโจทย์อิงจากความสามารถของตัวเองนะ
เป็นยังไงบ้างครับ น้องๆ อ่านบทความนี้แล้วพอจะได้แนวทางมากขึ้นหรือเปล่า ถ้าเก็บเนื้อหาอิงตามสถิติและความถนัดของตัวเองพี่มั่นใจว่าน้องมีโอกาสจะเก็บคะแนนได้เกิน 60%
พี่เชื่อมั่นอย่างนั้น เชื่อว่าน้องๆ ทำได้ น้องๆ ก็ต้องเชื่อมั่นในตัวเองมากๆ แต่ก็อย่ากดดันตัวเองเกินไปจนเครียด เพราะจะส่งผลกระทบกับร่างกายทำให้อ่านหนังสือทบทวนได้ไม่ดีนัก ทำให้เต็มที่ อย่าลืมดูแลตัวเอง พี่ๆ ออนดีมานด์เป็นกำลังใจให้เสมอครับ 🙂
ดูเฉลยแบบฝึกหัดเคมีสสวท. ได้ที่ Youtube: PKen Official
อย่าลืมกด LIKE 👍 Facebook Fanpage ของ ออนดีมานด์ OnDemand สถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ เพื่อไม่ให้พลาด สาระดีๆ ข่าวสาร และสิทธิพิเศษ นะคร้าบบ
บทความอื่นๆ
กิจกรรม Open House 2025 คืออะไร? สำคัญยังไงสำหรับการเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัย
Open House คืออะไร? กิจกรรม Open House เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อเปิดบ้านต้อนรับนักเรียนระดับม.ปลาย รวมถึงผู้ปกครองที่สนใจให้เข้ามาสำรวจและสัมผัสบรรยากาศของมหาวิทยาลัยแบบใกล้ชิด โดยกิจกรรมนี้มักมีการแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนของแต่ละคณะ การพูดคุยกับอาจารย์และรุ่นพี่นักศึกษา รวมถึงการจัดแสดงผลงานจากคณะและสาขาวิชาต่าง ๆ ทำให้นักเรียนได้รับข้อมูลที่สำคัญก่อนตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยและสาขาที่เหมาะกับตัวเอง Open House 2025 มีที่ไหนบ้าง?
อยากสอบเข้า เตรียมอุดมศึกษา ต้องเตรียมตัวยังไง (TU88)
การสอบเข้าโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา ขึ้นชั้น ม.4 ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของ ม.ต้น หลาย ๆ คน ทั่วประเทศ ด้วยชื่อเสียงของโรงเรียนที่เป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทยในด้านวิชาการ และโอกาสในการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต อย่างไรก็ตามการสอบเข้าเตรียมอุดมฯ มีการแข่งขันสูงมาก และการเตรียมตัวล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับน้อง ๆ ม.3 ที่อยากเข้าเตรียมอุดมฯเลยทีเดียว
DEK69 เตรียมตัวเข้ามหาลัย ต้องเริ่มยังไง ?
dek69 อีกไม่กี่เดือน น้องม.5 ก็จะกลายเป็นพี่ใหญ่ ม.6 อย่างเต็มตัว หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักเกี่ยวกับระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยดีนัก แล้วทำไมต้องเรียก DEK69 วันนี้พี่ออนจะอธิบายให้น้อง ๆ เข้าใจกันง่าย ๆ ในบทความเดียว DEK69 (เด็ก69) คืออะไร ? DEK69 คือนักศึกษาที่เข้าเรียนในระบบมหาวิทยาลัยปี 2569 นั่นก็คือน้องเข้าปี 1
สถิติ TGAT/TPAT 2-5 ปี 68 มาแล้ว! เช็กเลย
สวัสดีจ้าน้องๆ ทุกคน! พี่ออนดีมานด์ มีข่าวด่วนจาก ทปอ. มาให้อัปเดตกันสดๆ ร้อนๆ เลย เพราะ ทางทปอ. เพิ่งปล่อยสถิติคะแนนสอบ TGAT/TPAT 2 – 5 ออกมาแล้วนะ บอกเลยว่าข้อมูลนี้ช่วยให้น้องๆ เห็นภาพรวมของแต่ละวิชาได้ชัดขึ้น แถมยังช่วยวางแผนการสมัครรอบถัดไปได้แบบเป๊ะๆ ไปดูกันเลยว่าเป็นยังไงบ้าง สถิติคะแนน TGAT/TPAT แต่ละวิชา TGAT ความถนัดทั่วไปส่วนใหญ่ได้คะแนน