เตรียมตัวสู่สนามสอบเข้าเตรียมอุดมฯ แบบครบทุกมิติ กับเทคนิคและเคล็ดลับการอ่านหนังสือที่ช่วยให้น้อง ๆ จัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความมั่นใจในการทำข้อสอบวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย บทความนี้จากโรงเรียนกวดวิชาออนดีมานด์ จะช่วยให้น้อง ๆ มีแผนการอ่านหนังสือที่ชัดเจน พร้อมฝึกทำโจทย์อย่างมีระบบ เตรียมพร้อมสู่การสอบอย่างเต็มที่เพื่อคว้าโอกาสสู่รั้วเตรียมอุดมฯ!
การสอบเข้าเตรียมอุดมศึกษา (รอบคัดเลือกทั่วไป)
อ้างอิงจากการคัดเลือกปีการศึกษา 2567
- 📌 ต้องศึกษาอยู่ชั้น ม.3 หรือเทียบเท่า ในปีการศึกษา 2568
- 📌 ไม่ใช้ GPAX หรือเกรดเฉลี่ยในการคัดเลือกในรอบนี้
แผนการเรียน
วิชาที่สอบ
วิทย์ – คณิตฯ
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา
ภาษา – คณิตฯ
คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา
ภาษา – ภาษาต่างประเทศที่ 2*
ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา
*ภาษาต่างประเทศที่ 2 ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน สเปน เกาหลี
พิจารณาการสอบคัดเลือกจากแบบทดสอบคัดเลือกความสามารถทางวิชาการ โดยใช้คะแนน T-Score เรียงลำดับคะแนนสูงสุด
สถิตินักเรียนที่สอบติดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ปีการศึกษา | จำนวนคนสมัคร | จำนวนรับ | อัตราการสอบติด (%) | อัตราการแข่งขัน (ต่อคน) |
2567 | 11,706 | 1,520 | 12.98% | 8 : 1 |
2566 | 12,460 | 1,110 | 8.91% | 11 : 1 |
2565 | 11,853 | 1,110 | 9.36% | 11 : 1 |
2564 | 12,765 | 1,110 | 8.70% | 12 : 1 |
2563 | 11,930 | 1,110 | 9.30% | 11 : 1 |
แนวข้อสอบเข้าเตรียมอุดมศึกษา
วิชาคณิตศาสตร์
ลำดับและอนุกรม, เลขยกกำลัง กรณฑ์ และรากที่สอง, จำนวนและตัวเลข, สมการ อสมการ และกราฟ, พหุนามและการแยกตัวประกอบ, สมการกำลังสอง และระบบสมการ, ทฤษฎีบทพีทาโกรัสและตรีโกณมิติ, เรขาคณิต พื้นที่ พื้นที่ผิว และปริมาตร, สถิติ, ความน่าจะเป็น
วิชาวิทยาศาสตร์ (เคมี)
พื้นฐานเบื้องต้นในการศึกษาวิชาเคมี, สารรอบตัวและการจำแนกสาร, การแยกสาร, การเปลี่ยนแปลงของสาร, น้ำเพื่อชีวิต, อะตอม ตารางธาตุ และพันธะเคมี, พอลิเมอร์, ความเข้มข้นของสารละลาย, สารละลายกรด-เบส
วิชาวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา)
อนุกรมวิธาน, ประชากรและสิ่งแวดล้อม, ระบบนิเวศ, กล้องจุลทรรศน์และเซลล์, สารอาหาร, ระบบขับถ่าย, ระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต, ระบบย่อยอาหาร, ระบบเลือด น้ำเหลือง และภูมิคุ้มกัน, ระบบประสาท อวัยวะรับความรู้สึก และพฤติกรรม, ระบบหายใจ, การสังเคราะห์ด้วยแสงและการสืบพันธุ์ของพืชดอก, การสืบพันธุ์ของพืชดอก, เนื้อเยื่อ โครงสร้าง และกลไกการทำงานหลักของพืช, พันธุศาสตร์ สารพันธุกรรม การแบ่งเซลล์ และวิวัฒนาการ
วิชาวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์)
การเคลื่อนที่แนวตรง, กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน, สมดุลกลและโมเมนต์, งานและพลังงาน, เครื่องกล, โมเมนตัม, การเคลื่อนที่วิถีโค้ง, อุณหภูมิและความร้าน, ของเหลวและของไหล, อุตุนิยมวิทยา, คลื่น, คลื่นเสียง, แสงและทัศนอุปกรณ์, ไฟฟ้า, ธรณีวิทยา, ดาราศาสตร์และเทคโนโลยี
วิชาภาษาไทย
การอ่านจับใจความ เน้นอ่านบทความแล้วตอบคำถามเกี่ยวกับใจความสำคัญ การตีความ ความคิดเชิงวิเคราะห์
ความรู้ด้านหลักภาษา: คำศัพท์, การสะกดคำ, คำราชาศัพท์, คำพ้องความหมายและคำพ้องเสียง
วรรณคดีและวรรณกรรม: ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีไทยและการวิเคราะห์วรรณกรรม รวมถึงการระบุผู้เขียน ลักษณะเด่นของวรรณคดี
วิชาภาษาอังกฤษ
Grammarการใช้งานคำสั่ง, Tenses, การใช้ประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences), ประโยค Passive Voice และ Active Voice
คำศัพท์ (Vocabulary): คำศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คำศัพท์ที่ใช้ในการศึกษา รวมถึงการหาความหมายของคำจากบริบท
การอ่านจับใจความ (Reading Comprehension): การอ่านบทความและตอบคำถามที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ใจความสำคัญ และความสามารถในการตีความ
การเขียน (Writing): การเขียนเรียงความสั้นๆ หรือเขียนตอบคำถามโดยใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง
วิชาสังคมศึกษา
ประวัติศาสตร์: เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยและสากล บุคคลสำคัญ และเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงโลก
ภูมิศาสตร์: การอ่านแผนที่, ลักษณะภูมิประเทศ, และปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
หน้าที่พลเมืองและกฎหมาย: ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองไทย, รัฐธรรมนูญ และกฎหมายพื้นฐานที่ควรรู้
ศาสนาและวัฒนธรรม: หลักธรรมทางศาสนาพุทธ, ประเพณีและวัฒนธรรมไทย รวมถึงศาสนาอื่นๆ
เทคนิคเตรียมตัวสอบเข้าเตรียมอุดมศึกษา
ขั้นที่ 1 : ประเมินตนเอง
รู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง: รู้ว่าตัวเองถนัดหรืออ่อนในวิชาไหนจะช่วยให้วางแผนการเตรียมตัวได้อย่างตรงจุด
วางแผนการอ่านหนังสือ: จัดตารางกำหนดเวลาการอ่านหนังสือและฝึกทำโจทย์ในแต่ละวันอย่างเป็นระบบ ควรมีการจัดตารางเวลาและทำตามอย่างเคร่งครัด
ขั้นที่ 2 : Mock Exam
ศึกษาข้อสอบเก่า: การศึกษาข้อสอบเก่าและแนวข้อสอบของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบและเนื้อหาของข้อสอบจะทำให้ตัดเนื้อหาที่ไม่จำเป็นได้มากขึ้น
ลองสอบสนามสอบจำลอง Mock exam: การทำข้อสอบจำลองช่วยให้เข้าใจถึงบรรยากาศของการสอบจริงและประเมินตนเองในจุดที่ทำพลาด
ประเมินผลการสอบจำลอง: การทำข้อสอบจำลอง หรือ Mock exam จะช่วยให้ทราบว่าคะแนนที่ทำได้อยู่ในระดับใด และสามารถใช้ชี้วัดว่าควรเสริมในส่วนไหน
ขั้นที่ 3 : เน้น Upskill ฝึกโจทย์
ฝึกทำโจทย์ที่ยากขึ้นเรื่อยๆ: การฝึกทำโจทย์ที่มีความยากสูงจะช่วยให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ดีขึ้นและพร้อมสำหรับข้อสอบที่ยากของโรงเรียนเตรียมอุดม
เพิ่มความเร็วในการทำข้อสอบ: การฝึกทำโจทย์ซ้ำๆ ช่วยให้สามารถทำข้อสอบได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น สามารถคุ้นชินกับเวลาในห้องสอบที่อาจมีเหตุให้ลนลาน
ฝึกการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา: โจทย์ที่ยากและซับซ้อนจำเป็นต้องใช้การคิดวิเคราะห์ที่ลึกซึ้ง การฝึกทำโจทย์ประเภทนี้บ่อยๆ จะช่วยพัฒนาทักษะและสามารถทำข้อสอบได้อย่างชำนาญ
ข้อดีของการเรียนเตรียมอุดมศึกษา
โอกาสเรียนต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำ: นักเรียนที่จบจากที่นี่มักมีโอกาสเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาชื่อดัง
การเรียนการสอนที่เข้มข้น: โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเน้นความเข้มข้นในเนื้อหาวิชาการ ทำให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ที่จำเป็นในวิชาต่างๆ อย่างเต็มที่
เครือข่ายเพื่อนที่มีศักยภาพสูง: เพื่อนร่วมชั้นที่มีความสามารถและมีเป้าหมายในการศึกษาต่อที่คล้ายกัน ซึ่งยังสามารถช่วยสนับสนุนกันในอนาคตได้อีกด้วย
เพิ่มโอกาสในการสอบชิงทุน: มีโอกาสได้รับการสนับสนุนในการสอบชิงทุนการศึกษาต่อต่างประเทศหรือทุนภายในประเทศ จากมีชื่อเสียงของโรงเรียนและมาตรฐานการศึกษา
การเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย: ระบบการเตรียมความพร้อมที่ดีสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ครูผู้สอนมีประสบการณ์และความรู้เฉพาะทาง สามารถให้ข้อมูลและแนวทางที่ชัดเจนในการเตรียมตัว เพื่อให้สอบติดคณะหรือมหาวิทยาลัยที่ต้องการ
สิ่งแวดล้วมช่วยกระตุ้นการเรียนรู้: เพื่อนร่วมชั้นเรียนมีความสามารถสูงทำให้นักเรียนได้พัฒนาตัวเองและมีแรงบันดาลใจในการเรียนอยู่ตลอดเวลา
คอร์สเรียนที่ออนดีมานด์
PACK Upskill มหิดลฯและจุฬาภรณฯ(คณิต,ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ)
Upskill เตรียมอุดมฯ (คณิต,ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ)
ติวเข้มเนื้อหา ชีววิทยา และ เคมี เข้าเตรียมอุดมฯ
Pack ติวเข้มเข้ามหิดลฯ จุฬาภรณฯ ฟิสิกส์และคณิตฯ
Pack ติวเข้มเข้าเตรียมอุดมฯ คณิต และฟิสิกส์
บทความอื่นๆ เพิ่มเติม 👉 : OnDemand