ถือเป็นสถานการณ์วิกฤต ที่ทำเอาทั่วโลกต้องระมัดระวังและปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต สำหรับโรคระบาดโควิด-19 ด้านการศึกษาก็ต้องหันมาใช้รูปแบบการเรียนออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งอาจจะมีผลกระทบที่ตามมาทั้งต่อตัวเด็กและผู้ปกครองที่อาจจะต้องมีเวลาดูและลูกน้อย บุตรเพิ่มเติม บทความนี้ขอแนะนำเทคนิค ใช้ดูแลใจเด็กๆ ช่วงวิกฤต โควิด-19
สังเกตและรับฟัง
สังเกตเด็กๆ ว่ามีอาการหงุดหงิด งอแง กลัว เศร้าหรือไม่?
เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึกผ่านการเล่น การวาดภาพ เพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
ทำกิจกรรมร่วมกัน
ควรให้เด็กๆ ได้ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ เช่น เล่นของเล่น เล่นกีฬา ดูหนัง ร้องเพลง
ทำอาหารทำความสะอาดบ้าน หรือกิจกรรมอื่นร่วมกับพ่อแม่/ผู้ดูแล
ดูแลอย่างใกล้ชิด
พ่อแม่/ผู้ดูแลควรดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้ากักตัวควรติดต่อเด็กอย่างสม่ำเสมอผ่านโทรศัพท์ วิดีโอคอลหรือโซเชียลเดีย
จัดการอารมณ์ตนเอง
พ่อแม่/ผู้ดูแลต้องมีวิธีจัดการอารมณ์ตนเองที่เหมาะสม รวมทั้งพูดกับเด็กๆ อย่างจริงใจเหมาะสมกับวัย เพราะเด็กจะเรียนรู้อารมณ์และพฤติกรรมของผู้ใหญ่
โดยในช่วงสถานการณ์โควิด-19 คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกน้อยถึงสถานการณ์ดังกล่าว ถามถึงข่าวต่างๆ หรือสิ่งที่ลูกน้อยได้ยินมา เพื่อเป็นการอัพเดทชี้แจงพูดคุย
ใช้การสื่อสารด้วยภาษาที่เหมาะสมกับวัย โดยเด็กในแต่ละวัยมักมีการเข้าใจภาษาที่ต่างกัน ซึ่งอาจใช้ภาพการ์ตูนประกอบ ชวนลูกป้องกันตัวเอง หมั่นให้ลูกน้อยล้างมือบ่อยๆ สอนวิธีสวมใส่หน้ากากอนามัยให้ชิน ฉีดสเปย์และไม่เอามือมาจับหน้า ปรับพฤติกรรมของเสี่ยงของเด็ก เช่นการสัมผัสนิ้วมือ กรีขยี้จมูก ขยี้ตา เพื่อลดการรับเชื้อ
ที่มา : กรมสุขภาพจิต