สรุปเนื้อหา วิวัฒนาการ พันธุศาสตร์ประชากร ม.4

รายละเอียดคอร์ส ชีววิทยา ม.ปลาย เนื้อหา วิวัฒนาการและพันธุศาสตร์เชิงประชากร สอนโดย พี่วิเวียน ออนดีมานด์ เข้าใจง่าย จำได้นาน ทำข้อสอบได้จริง มีเทคนิคช่วยจำ “Bio Map” เป็นตัวช่วย – สอนเนื้อหาทุกเรื่องอย่างละเอียด – สอนจับประเด็น คิดอย่างเป็นระบบ – เนื้อหากระชับ ครบถ้วน ครอบคุลมสนามสอบแข่งขัน – “Bio Map” จะเป็นตัวช่วยให้น้องๆ เข้าใจ และจัดลำดับความคิดได้อย่างเป็นระบบ – “ตำราพูดได้” เพื่อให้น้องสามารถดูคลิปจากในหนังสือเรียน เพื่อช่วยให้น้องๆ เข้าใจได้ ภายใน 3 นาที

0:00:06-0:03:00 แนะนำวิวัฒนาการระดับมหภาค
0:03:00-0:13:12 กลไกการเกิดสปีชีส์ใหม่
0:13:13-0:19:55 กลไกป้องกันการผสมข้ามสปีชีส์

วิวัฒนาการระดับมหภาค (macroevolution)

เป็นวิวัฒนาการที่ทำให้เกิดสปีชีส์ใหม่ของสิ่งมีชีวิตขึ้น โดยกลไกการเกิดสปีชีส์ใหม่แบ่งออกเป็น 2 แบบ

1. แบบสายตรง (phyletic evolution/ anagenesis)

เกิดจากการสะสมการเปลี่ยนแปลงของลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในประชากรจนเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสปีชีส์ใหม่แทนสปีชีส์เดิม

2. แบบแตกแขนง (speciation/ cladogenesis)

เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเป็นสองกลุ่มหรือมากกว่าในประชากรจนเกิดสปีชีส์ใหม่แยกออกมาจากสปีชีส์เดิม โดยอาจมาจาก 2 สาเหตุ
  • มีการแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์ (allopatric speciation) มีสิ่งแวดล้อม เช่น ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มาขวางกั้นประชากรออกจากกัน เมื่อประชากรแยกกันเป็นสองกลุ่ม ทำให้ประชากรแต่ละกลุ่มต่างปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของตนเอง
  • ไม่มีการแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์ (sympatric speciation) สิ่งมีชีวิตยังคงอยู่บริเวณเดียวกัน แต่สิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับโครโมโซมขึ้นจากการการเพิ่มจำนวนชุดของโครโมโซมทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ขึ้น

กลไกป้องกันการผสมข้ามสปีชีส์ (reproductive isolating mechanism)

เป็นกลไกที่ป้องกันไม่ให้เซลล์สืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันได้มาผสมพันธุกัน โดยแบ่งได้ดังนี้
  • ระยะก่อนการผสมพันธุ์: ถิ่นที่อยู่อาศัยต่างกัน, พฤติกรรมการผสมพันธุ์ต่างกัน, ช่วงเวลาในการผสมพันธุ์ต่างกัน
  • ระยะระหว่างการผสมพันธุ์: โครงสร้างของอวัยวะสืบพันธุ์ต่างกัน, สรีรวิทยาของเซลล์สืบพันธุ์ต่างกัน
  • ระยะหลังการผสมพันธ์ุ: ลูกผสมตายก่อนถึงวัยเจริญพันธุ์, ลูกผสมเป็นหมัน, ลูกผสมล้มเหลว