How to ทำ “Portfolio” ยังไงให้ปัง พร้อมสอบสัมภาษณ์ เข้ามหาลัย

How to ทำ “Portfolio” ยังไงให้ปัง พร้อมสัมภาษณ์

หลาย ๆ คนน่าจะรู้จักสิ่งนี้ดี นั่นก็คือ Portfolio ซึ่งเป็นสิ่งทีี่เราคุ้นชินมาตั้งแต่เด็ก ในการเรียนระดับชั้นอนุบาล จนถึงประถม น้อง ๆหลายคนน่าจะเคยได้มีการเก็บชิ้นงานที่ทำไว้ที่แฟ้มสะสมผลงาน หรือ Portfolio แน่นอนว่า การสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย หรือแม้แต่การสมัครงานในบางแห่ง ก็อาจมีการขอดู Portfolio ของเราเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

Portfolio เป็นส่วนสำคัญการอีกอย่างในการสัมภาษณ์ เพราะใน Portfolio จะเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงตัวตนของเราและยังแสดงถึงความสามารถที่เรามี เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์ได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเราเพิ่มเติม กาารทำ Portfolio มีหลากหลายรูปแบบ ในบางคนอาจททำเป็นเล่มคล้ายหนังสือ และบางคนจัดทำคล้ายแฟ้มสะสมผลงาน ซึ่งการออกแบบแต่ละแบบไม่มีกฎตายตัวที่บอกว่าผิดหรือถูก เราเองสามารถดีไซน์ออกมาให้เป็นตัวตนของเราได้

วันนี้พี่ ๆ OnDemand มาแชร์ How to ทำ Portfolio ยังไงให้ปัง พร้อมสอบสัมภาษณ์

Portfolio ควรมีอะไรบ้าง ?

1.ปกของ Portfolio

รูปของน้อง ๆ

 – ควรใช้รูปที่ใส่ชุดสุภาพ  หรือชุดนักเรียนเพื่อเป็นการแสดงถึงความเป็นเจ้าของของชิ้นงาน

ชื่อของเจ้าของผลงาน

– ควรใส่ชื่อเจ้าของผลงานที่เห็นได้ชัด สามารถใส่ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่หากใส่ภาษาอังกฤษ น้อง ๆ จะส่ามารถใช้ได้หลากหลายขึ้น เช่นการยื่นในคณะเกี่ยยวกับภาษาต่างประเทศ การใช้ในคณะนานาชาติ เป็นต้น

การเลือกชุดสีของ Portfolio

 – หากมีคณะหรือมหาลัยที่ตั้งใจไว้ สามารถเลือกชุดสีของคณะหรือมหาวิทยาลัยนั้น หรือน้อง ๆ ที่เค้าคณะที่อาจต้องมีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือด้านสิลปะ สามารถครีเอตออกมาเพื่อให้เป็นตัวเองได้เช่นกัน และสำหรับใครที่ยังไม่ได้มีที่คิดไว้ อาจใช้สีกลาง ๆ พื้นฐาน เช่น ขาว ดำ เทา สีเบจ หรือการใช้เอิร์ธโทนก็ดูดีไม่น้อย 

2. คำนำ

– การเขียนคำนำเพื่อบอกจุดประสงค์หลักในการจำทำผลงาน โดยการทำผลงานชิ้นนี้ทำเพื่ออะไรและจะให้ผลประโยชน์ใดแก่ผู้อ่าน และผู้จัดทำ 

ในการเขียนคำนำ น้อง ๆ สมารถกล่าวถึงบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการจัดทำได้ เช่น คุณครูที่ปรึกษา ผู้ปกครอง หรือเพื่อนร่วมกิจกรรม

3. สารบัญ

– ควรเขียนชื่อเรื่อง เนื้อหา รายชื่อหัวข้อต่าง ๆ ที่เราแนบมาในผลงาน เพื่อให้ผู้อ่านหรือกรรมการ ง่่ายต่อการสืบค้นในส่งวนที่สนใจ 

4. ประวัติส่วนตัวและประวัติการศึกษา

– เขียนประวัติตัวเองพอสังเขป การใช่ประวัติการศึกษา อาจใส่เพียงชันมัธยมศึกษา หรือหากชั้นประถมศึกษาเป็นโรงเรียนเฉพาะทางน้อง ๆ ก็สามารถใส่เพิ่มเข้าไปได้อีกด้วย และมีข้อมูลการติดต่อให้ชัดเจน  เช่นที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล อาจมีรูปภาพตนเอง หรือรูปนักเรียนหน้าตรงเข้าไปด้วยก็ได้

5. กิจกรรมที่เข้าร่วม

– กิจกรรมมที่เข้าร่วมควรจัดประเภทของแต่ละกิจกรรม เช่น กิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการกีฬา กิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น 

ในส่วนนี้จะเป็นการใส่รูปภาพกิจกรรม และอธิบายลักษณะและะจุดประสงค์ของกิจกรรมที่เข้าร่วม เพื่อให้กรรมการทราบและเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมที่เราสนใจ

6. ใบประกาศ

– ในส่วนนี้เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนที่ทำกิจกรรรมต่าง ๆ มักจะมีสิ่งนี้อยู่ไม่น้อย ใบประกาศ หรือเกียรติบัตรที่ยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของเรา หรือในน้อง ๆ บางกลุ่มอาจเป็นใบประกาศรางวัลที่ตนได้รับ ยิ่งเป็นใบประกาศชั้นดีเลยไม่น้อยที่จะช่วยยืนยันความสามารถของเราอีกด้วย 

น้อง ๆ #DEK66 ที่กำลังจะใชช้ Portfolio ในการเข้ามหาวิทยาลัย หรือ #DEK67 ที่กำลังเตรียมตัวอยู่นั้น ก็อย่าลืมเอาไปลองทำตามที่พี่ ๆ ออนดีมานด์แนะนำกันดูนะ 

 

หรือถ้าน้อง ๆ ต้องการกาารเตรียมตัวในการสัมภาษณ์ หรือเทคนิคดี ๆ ทริคแน่น ๆ สามารถอ่านได้ที่ บทความ นี้กันได้เลยนะคะ 

แต่กว่าจะได้เข้าสัมภาษณ์แน่นอนว่า เกรดหรือคะแนนสอบ ก็เป็นอีกสิ่งสำคัญญที่จะชวยผลักดันเราด้วยเช่นกัน ถ้าน้อง ๆ ต้องการเพิ่มคะแนนในห้องเรียน หรือ อยากอัปคะแนนสอบให้ปัง ๆ สามารถสอบถามพี่ ๆ ออนดีมานด์เพิ่มเติม ได้ทั้งทาง Call center 02-2519456 หรือ พี่ ๆ OnDemand ทุกสาขาทั่วประเทศไทย

อย่าลืมกด LIKE 👍 Facebook Fanpage ของ ออนดีมานด์ OnDemand สถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ เพื่อไม่ให้พลาด สาระดีๆ ข่าวสาร และสิทธิพิเศษ นะคร้าบบ

บทความอื่นๆ