สวัสดีน้อง ๆ ตอนนี้เราก็เดินทางมาจนถึงกลางเดือนสิงหาคมแล้ววว 💕 แต่สิ่งทำให้เดือนนี้น่าตื่นเต้นขึ้นมาคือการแถลงข่าวรายละเอียด “การรับสมัคร กสพท. TCAS67 ประจำปี 67” 🩺👩🏼⚕️ ในวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมานั่นเอง! โดยใกล้จะเปิดรับสมัครในวันที่ 1 กันยายนนี้แล้วนะ 😍💖
วันนี้เราจะพาน้อง ๆ มาทำความรู้จัก 10 เรื่องสำคัญของ กสพท 67 ที่ต้องรู้! เพื่อให้น้อง ๆ ได้ทำความเข้าใจการสมัครรวมถึงวางแผนเตรียมตัวสอบในครั้งนี้กันอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้การสอบเป็นไปอย่างราบรื่นนั่นเอง 💪🤍
10 เรื่องสำคัญของ กสพท TCAS67 ที่ต้องรู้!
- เปลี่ยนชื่อวิชาเฉพาะ กสพท. เป็น “TPAT1”
- เพิ่มที่นั่งจากปีที่แล้วถึง 72 ที่นั่ง รวมสุทธิถึง 2,380 คน
- มีหลักสูตรที่เพิ่มเข้ามาใหม่มากถึง 6 หลักสูตร ได้แก่
- แพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.กรุงเทพธนบุรี (เอกชน)
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.สยาม (เอกชน)
- เภสัชศาสตร์ (สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ) ม.อุบลราชธานี
- เภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น
- เภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น (นานาชาติ)
- หาก “คณะแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์” ผ่านการรับรองก่อน 31 สิงหาคมนี้ น้อง ๆ จะสามารถผ่าน กสพท. ได้ ต้องรอติดตามต่อไป
- เปิดรับสมัคร 1 – 20 ก.ย. นี้ โดยต้องชำระค่าสมัคร 800 บาท
- สอบในวันเสาร์ที่ 16 ธ.ค. 66 ในรูปแบบกระดาษเช่นเดิม
- สายศิลป์สามารถสมัครคณะทันตแพทยศาสตร์ได้แล้ว
- เกณฑ์การคัดเลือก TPAT1 30% และ A-Level 70% ซึ่งยังคงใช้เกณฑ์เดิม
- เพิ่มสนามสอบที่ จังหวัดมหาสารคาม
- เมื่อสอบติดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต, ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และเภสัชศาสตร์ในรอบ 1 หรือ 2 จะไม่สามารถสมัครคณะเดิมในรอบถัดไปได้ แม้ว่าจะสละสิทธิ์แล้ว เนื่องจากถือว่าทุกสถาบันผ่านการรับรอง ดังนั้นส่งผลให้ทุกสถาบันมีมาตรฐานเท่าเทียมกัน
โดยน้อง ๆ ที่จะสมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้…
- เป็นคนที่มีสัญชาติไทย
- เรียนอยู่ชั้น ม.6 , เป็นเด็กซิ่ว, เทียบเท่า หรือ จบ ป.ตรี แล้วโดย ป.ตรี สามารถเลือกใช้วุฒิ ม.6 หรือ วุฒิ ป.ตรี อย่างใดอย่างหนึ่ง
โดย เด็กซิ่ว มีรายละเอียดเฉพาะ ดังนี้
2.1 เด็กซิ่วชั้นปี 1 ทุกหลักสูตร สามารถสมัครได้โดยไม่ต้องลาออก เว้นแต่หากซิ่วเข้าคณะเดิมจะต้องลาออกโดยต้องได้รับการอนุมัติให้ลาออกก่อนวันที่ 25 เมษายน 2567 เช่น แพทยศาสตร์ จะซิ่วเข้าหลักสูตรแพทยศาสตร์ , เภสัชศาสตร์ จะซิ่วเข้าเภสัชศาสตร์ เป็นต้น
2.2 หากซิ่วจาก ม.เอกชน มา กสพท. ไม่จำเป็นต้องลาออก แม้จะซิ่วเข้าหลักสูตรเดิมก็ตาม
2.3 เด็กซิ่ว ที่ลงทะเบียนปี 2 แล้ว หรือ มีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาบังคับปี 2 ทั้งจะอยู่ในสถานะลาพักหรือได้รับการอนุมัติให้ลาพัก ต้องได้รับการอนุมัติให้ลาออกก่อนวันที่ 10 กันยายน 2566 และ
2.4 เด็กซิ่วที่อยู่ปี 4 ที่คาดว่าจะจบในปีการศึกษา 2565 ไม่ต้องลาออก
2.5 เด็กซิ่ว จาก ม.เอกชน ไม่จำเป็นต้องลาออกไม่ว่าเรียนอยู่ชั้นปีไหน
2.6 ในทุกหลักสูตร สามารถสมัครได้ทุกแผนการเรียน
คณะที่เปิดรับ เปิดรับทั้งหมด 66 แห่ง และมียอดเปิดรับในปี 2567 ดังนี้
- แพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น 20 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ จุฬาฯ 176 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ (กองทัพอากาศ) จุฬาฯ 30 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ 24 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 65 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ นเรศวร 30 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล 94 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล 192 ที่นั่ง
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์ รพ.ราชวิถี ม.รังสิต (เอกชน) 40 ที่นั่ง
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์ รพ.เลิดสิน ม.รังสิต (เอกชน) 13 ที่นั่ง
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์ รพ.นพรัตนราชธานี ม.รังสิต (เอกชน) 13 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ มศว. 140 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ ม.สงขลาฯ 40 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมินทราธิราช 50 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์วชิรพยาบาล รพ.ตากสิน ม.นวมินทราธิราช 20 ที่นั่ง
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (ชาย) 65 ที่นั่ง
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (หญิง) 45 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี 12 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ ม.บูรพา 50 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง 16 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ ม.สยาม (เอกชน) 15 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ ม.เวสเทิร์น (เอกชน) 10 ที่นั่ง
- แพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 12 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 55 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล 80 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ 15 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.สงขลาฯ 15 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ มศว 40 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น 10 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 30 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร 45 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี 10 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.เนชั่น (เอกชน) 15 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.เวสเทิร์น (เอกชน) 10 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.รังสิต (เอกชน) 60 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.กรุงเทพธนบุรี (เอกชน) 10 ที่นั่ง
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.สยาม (เอกชน) 30 ที่นั่ง
- สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 105 ที่นั่ง
- สัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ 35 ที่นั่ง
- สัตวแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น 13 ที่นั่ง
- สัตวแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ 20 ที่นั่ง
- สัตวแพทยศาสตร์ ม.มหิดล 40 ที่นั่ง
- สัตวแพทยศาสตร์ ม.เทคโนโลยีมหานคร (เอกชน) 10 ที่นั่ง
- สัตวแพทยศาสตร์ ม.มหาสารคาม 10 ที่นั่ง
- สัตวแพทยศาสตร์ มทร.ตะวันออก 15 ที่นั่ง
- สัตวแพทยศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย 10 ที่นั่ง
- สัตวแพทยศาสตร์ ม.สงขลาฯ 10 ที่นั่ง
- สัตวแพทยศาสตร์ ม.เวสเทิร์น (เอกชน) 10 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม) จุฬาฯ 77 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ (สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ) จุฬาฯ 88 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ ม.มหิดล 70 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่ 75 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม) มศว 20 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ (สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ) มศว 20 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 30 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม) ม.มหาสารคาม 10 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ ม.บูรพา 20 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม) ม.สยาม (เอกชน) 10 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (เอกชน) 15 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม) ม.พายัพ 10 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม) ม.อุบลราชธานี 10 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ (สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ) ม.อุบลราชธานี 10 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ (สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ) ม.สงขลานครินทร์ 10 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ (สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม) ม.สงขลานครินทร์ 10 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น 10 ที่นั่ง
- เภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น (นานาชาติ) 10 ที่นั่ง
เกณฑ์คัดเลือก
- คะแนนวิชา TPAT1 30%
- คะแนน A-Level 7 วิชาหลัก 70% (มีขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มวิชา = 30%) โดยแต่ละวิชามีสัดส่วนคะแนนดังนี้
- วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) 40%
- คณิตศาสตร์ 1 20%
- ภาษาอังกฤษ 20%
- ภาษาไทย 10%
- สังคมศึกษา 10%
กำหนดการสมัคร
TPAT1
1 – 20 กันยายน 2566 : เปิดรับสมัคร
23 กันยายน 2566 : ชำระเงินได้ถึงเวลา 23.00 น. ของวันที่ 23 กันยายน 2566 เท่านั้น
29 กันยายน 2566 : ตรวจสอบสถานะการชำระเงินและแก้ไขกรณีเอกสารไม่สมบูรณ์ ภายในเวลา 16:00 น.
1 – 16 ธันวาคม 2566 : พิมพ์บัตรประจำตัวเข้าสอบ
16 ธันวาคม 2566 : วันสอบ โดยสอบเวลา 8:30 น. – 12:30 น.
5 กุมภาพันธ์ 2567 : ประกาศคะแนน
5 – 7 กุมภาพันธ์ 2567 : ยื่นคำร้องขอตรวจสอบคะแนน
A-LEVEL
16-18 มีนาคม 2567 : วันที่สอบ
6-12 พฤษภาคม 2567 : สมัครและชำระเงินผ่านระบบ TCAS67
20 พฤษภาคม 2567 : ทปอ. ประกาศผลการคัดเลือกรอบที่ 3 ครั้งที่ 1
20-21 พฤษภาคม 2567 : ยืนยันสิทธิ์
25 พฤษภาคม 2567 : ทปอ. ประกาศผลการคัดเลือกรอบที่ 3 ครั้งที่ 2
สัมภาษณ์และตรวจสุขภาพ ติดตามข้อมูลได้จากสถาบันนั้น ๆ
เป็นยังไงกันบ้าง?! ได้ข้อมูลอย่างละเอียดแล้วก็สามารถนำไปวางแผนเตรียมตัวสอบกันได้เลย! ✌️ เตรียมตัวดีมีชัยไปกว่าครึ่ง! และน้อง ๆ สามารถติดตามข้อมูล กสพท TCAS67 ฉบับเต็มได้ที่ https://www9.si.mahidol.ac.th/ สู้ ๆ กับการสอบนะ!
บทความที่เกี่ยวข้อง