บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับสาขานิเทศศาสตร์ ว่าเมื่อเรียนจบแล้วสามารถทำงานในสายงานไหนได้บ้าง เราจะสำรวจหลากหลายอาชีพที่เปิดรับบัณฑิตนิเทศศาสตร์ ตั้งแต่วงการสื่อสารมวลชน การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา ไปจนถึงการผลิตสื่อในยุคดิจิทัล บทความนี้ยังอธิบายถึงทักษะและความรู้ที่ได้จากการเรียน และวิธีนำมาใช้ในสายอาชีพต่าง ๆ พร้อมทั้งแนะนำแนวทางการเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่การทำงานในยุคที่สื่อและเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
รู้จักคณะนิเทศศาสตร์ จบสาขานี้ ทำงานอะได้บ้าง
ถ้าพูดถึงคณะนิเทศศาสตร์ หลายคนอาจนึกถึงการทำงานในวงการทีวี ภาพยนตร์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ แต่ความจริงแล้ว คณะนิเทศศาสตร์มีสาขาที่หลากหลาย และเป็นที่ต้องการในการทำงานที่การสื่อสารมีบทบาทสำคัญในทุกด้าน การจบคณะนิเทศศาสตร์จะเปิดโอกาสในการทำงานได้อย่างหลากหลายเลยทีเดียว ทั้งในสื่อดิจิทัล การตลาด หรือแม้กระทั่งการสร้างคอนเทนต์ให้เป็นที่น่าสนใจ
คณะนิเทศศาสตร์มีสาขาอะไรบ้าง ? จบไปแล้วทำงานอะไรได้บ้าง ?
คณะนิเทศศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยในประเทศไทยอาจมีการแบ่งสาขาวิชาและหลักสูตรที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไป มักจะครอบคลุมสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่
สาขาการสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
เน้นการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตเนื้อหา การรายงานข่าว การเขียนบทความ และการทำรายการต่าง ๆ เป็นต้น
อาชีพหลังเรียนจบสาขาสื่อสารมวลชน
- 📌นักข่าว/ผู้สื่อข่าว (Journalist)
- 📌บรรณาธิการ (Editor)
- 📌ผู้จัดรายการ (Producer)
- 📌นักวิเคราะห์สื่อ (Media Analyst)
สาขาการประชาสัมพันธ์ (Public Relations)
เน้นการสร้างภาพลักษณ์และการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการประชาสัมพันธ์ การวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารองค์กร และการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์
อาชีพหลังเรียนจบสาขาประชาสัมพันธ์
- 📌นักประชาสัมพันธ์ (PR Officer)
- 📌ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ (PR Manager)
- 📌ที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร (Communications Consultant)
- 📌ผู้ประสานงานกิจกรรม (Event Coordinator)
สาขาการโฆษณา (Advertising)
เน้นการสื่อสารเพื่อทำการตลาดและการสร้างสรรค์โฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ ตามความเหมาะสม สาขานี้จะได้เรียนรู้กระบวนการคิดที่สร้างสรรค์ การออกแบบโฆษณา การวางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด และการประเมินผลการโฆษณาที่ทำการสื่อสาร
อาชีพหลังเรียนจบสาขาการโฆษณา
- 📌ครีเอทีฟโฆษณา (Advertising Creative)
- 📌นักวางแผนสื่อ (Media Planner)
- 📌ผู้กำกับศิลป์ (Art Director)
- 📌นักเขียนคำโฆษณา (Copywriter)
สาขาการสื่อสารการตลาด (Marketing Communication)
เป็นการผสมผสานระหว่างการสื่อสาร การโฆษณา และการตลาด เน้นไปที่การวางแผนและจัดการการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขาย การวิเคราะห์ตลาด และการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และการทำการตลาดให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและงบประมาณ
อาชีพหลังเรียนจบสาขาการตลาด
- 📌ผู้จัดการการตลาด (Marketing Manager)
- 📌นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketer)
- 📌นักวิจัยตลาด (Market Researcher)
- 📌ผู้จัดการแบรนด์ (Brand Manager)
สาขาการสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication)
สาขายอดฮิตในปัจจุบันเน้นการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล เช่น โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ นักศึกษาจะได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิทัลในการสื่อสาร รวมถึงการสร้างสรรค์คอนเทนต์ช่องทางออนไลน์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
อาชีพหลังเรียนจบสาขาสื่อสารดิจิตอล
ผู้สร้างเนื้อหาออนไลน์ (Content Creator)
นักกลยุทธ์สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Strategist)
นักวิเคราะห์สื่อออนไลน์ (Digital Media Analyst)
นักออกแบบ UX/UI (UX/UI Designer)
สาขานิเทศศิลป์ (Communication Arts and Design)
เน้นการออกแบบเนื้อหาภาพและเสียง เช่น กราฟิกดีไซน์ การออกแบบโฆษณาและสื่อสิ่งพิมพ์ หรือการออกแบบวิดีโอและสื่อมัลติมีเดีย เป็นการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์กับทักษะการออกแบบสื่อ ในบางมหาวิทยาลัยสาขานี้อาจอยู่ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
อาชีพหลังเรียนจบสาขานิเทศศิลป์
- 📌นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
- 📌นักออกแบบมัลติมีเดีย (Multimedia Designer)
- 📌ผู้กำกับภาพ (Art Director)
- 📌นักออกแบบโฆษณา (Advertising Designer)
สาขาภาพยนตร์และการผลิตสื่อ (Film and Media Production)
เน้นการผลิตภาพยนตร์และสื่อวิดีโอ จะได้เรียนรู้กระบวนการผลิต ตั้งแต่การเขียนบท การถ่ายทำ การกำกับ ไปจนถึงการตัดต่อและการใช้เทคโนโลยีในการผลิตสื่อ
อาชีพหลังเรียนจบสาขาภาพยนตร์และการผลิตสื่อ
- 📌ผู้กำกับภาพยนตร์ (Film Director)
- 📌นักเขียนบท (Screenwriter)
📌ช่างภาพยนตร์ (Cinematographer) - 📌ผู้ตัดต่อวิดีโอ (Video Editor)
สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (Broadcasting and Radio/TV)
เน้นการผลิตรายการโทรทัศน์และวิทยุ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนบท การผลิตรายการสด การจัดรายการวิทยุ และการทำงานในสถานีโทรทัศน์และวิทยุ
อาชีพหลังเรียนจบสาขากระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
- 📌ผู้ประกาศข่าว (News Anchor)
- 📌ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ (TV Producer)
- 📌นักจัดรายการวิทยุ (Radio DJ)
- 📌ผู้ควบคุมการออกอากาศ (Broadcasting Engineer)
ทำไมถึงควรเลือกเรียนคณะนิเทศศาสตร์?
ในปัจจุบันที่ทุกคนสามารถสร้างเนื้อหา คอนเทนต์และสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ คณะนิเทศศาสตร์จะช่วยเตรียมความพร้อมให้สร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้กระบวนการสื่อสาร และการจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม รวมถึงทักษะในการวิเคราะห์ที่จำเป็นต่อการทำงานในหลากหลายสาขา นอกจากความรู้ทางทฤษฎีแล้ว การเขียนบท ถ่ายภาพยนตร์ เป็นดาราแล้ว ยังได้ฝึกทักษะการใช้งานเครื่องมือและเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับงานในยุคปัจจุบันที่ให้ความสำคัญในการสร้างเนื้อหาที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย
โอกาสและจุดเด่นของคนจบคณะนิเทศศาสตร์ ?
การเรียนคณะนิเทศศาสตร์จะช่วยพัฒนาทักษะหลายด้าน เช่น การคิดเชิงวิเคราะห์ การสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ ที่ช่วยในการทำงาน นักศึกษาที่จะจากคณะนี้มีความพร้อมที่จะรับมือกับความท้าทาย และความแปลกใหม่ในโลกยุคดิจิทัลและอุตสาหกรรมสื่อที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้น้องมีโอกาสเข้าใจกระบวนการทำงานแต่ละสื่อ และเทคนิคการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
อยากสร้างโอกาสให้ตัวเอง ให้ออนดีมานด์ช่วยน้องต่อยอดในการเรียน
เตรียมตัวให้พร้อมสู่คณะนิเทศศาสตร์กับคอร์สเรียนที่จัดไว้เพื่อน้องที่อยากเข้าคณะนี้! ไม่ว่าจะฝันอยากเป็นนักข่าว ผู้กำกับ ผู้ผลิตรายการ หรือครีเอทีฟโฆษณา คอร์สนี้จะพาน้องเริ่มเส้นทางสู่คณะนิเทศศาสตร์ตั้งแต่วันนี้ อย่าคิดว่าออนดีมานด์มีเเต่คอร์สสายวิทย์นะ สายศิลปเราก็มีจ้า เเละที่สำคัญความจริงเเล้วน้องๆ สายศิลป์สามารถเรียนที่ออนดีมานด์ได้หลายวิชาเลย ลองดูรุ่นพี่ที่มารีวิวคอร์สภาษาอังกฤษของเราได้
บทความอื่นๆ เพิ่มเติม 👉 : OnDemand