สอบเข้ามหาวิทยาลัย คงเป็นเรื่องใหญ่ๆ ที่หนักอกหนักใจของน้องม.ปลาย โดยเฉพาะน้อง ม.6 ที่เหลือเวลาอีกไม่นาน อาจจะเริ่มแพนิค กรีดร้อง เพราะ อ่านหนังสือไม่ทัน 😱 ใจเย็นก่อนนน.. ตั้งสติ สูดลมหายใจลึกๆ แล้วตามพี่บรรจงมาดูกันครับว่า ออนดีมานด์ จะช่วยอะไรน้องๆ ได้บ้าง
1) วางแผน อ่านหนังสือ โดยอิงกับเวลาที่เหลืออยู่
สำหรับน้อง ม.6 ที่น่าจะรู้แล้วว่าอยากจะเข้าคณะอะไร ให้เอาเกณฑ์การรับสมัครของคณะนั้นมาดูครับ มีวิชาอะไรที่ต้องสอบ แล้วสอบวันไหนบ้าง มีเวลาเหลือเท่าไรสำหรับแต่ละวิชา
เช่น ถ้าน้องจะสอบ กสพท ปี 64 #กสพท64 น้องจะต้องรู้ข้อมูลตามตารางนี้
วิชาที่ใช้ประมวลผล | น้ำหนักคะแนน | วันสอบ |
---|---|---|
วิชาเฉพาะแพทย์ | 30% | 10 เมษายน 2564 |
วิชาสามัญ 7 วิชาหลัก | 70% | (มีขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มวิชา = 30%) |
วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ ชีววิทยา เคมี) | 40% | 3-4 เมษายน 2564
|
คณิตศาสตร์ | 20% | 4 เมษายน 2564 |
ภาษาอังกฤษ | 20% | 4 เมษายน 2564 |
ภาษาไทย | 10% | 3 เมษายน 2564 |
สังคมศึกษา | 10% | 3 เมษายน 2564 |
และแม้ว่าคะแนน O-NET จะไม่ได้ใช้ในการประเมินผล แต่น้องๆ ที่อยากยื่น กสพท จะต้องสอบทั้ง 5 วิชา (วิทย์ คณิต อังกฤษ ไทย สังคม) ได้คะแนนเฉลี่ยรวมเกิน 60% นะครับ ซึ่งจะสอบ 27-28 มีนาคม 2564 ถือเป็นสนามแรกที่ต้องเจอเลยครับ
พอดู % แบบนี้แล้วเราก็จะพอเห็นภาพมากขึ้นแล้วใช่มั้ยครับ ว่าควรทุ่มตรงไหน แล้วตรงไหนเทได้ โบกมือลาได้ถ้าอ่านไม่ทันจริงๆ 👋
ข้อมูลคณะอื่นๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.mytcas.com
น้อง ม.4 ม.5 ก็สามารถเข้าไปดูเป็นแนวทางได้นะครับ อย่าปล่อยให้เวลาเหลือน้อย ยิ่งเตรียมตัวเร็วเท่าไร ก็ยิ่งช่วยตัดปัญหาการอ่านหนังสือสอบไม่ทันได้มากเท่านั้นนะ
2) ลงคอร์ส เรียนพิเศษ แบบเน้นทำโจทย์
ออนดีมานด์มี PACK คอร์สเรียน สำหรับน้องเตรียมสอบ TCAS โดยเฉพาะ ทั้งวิชา ฟิสิกส์ เลข เคมี ชีวะ GAT เชื่อมโยง ความถนัดแพทย์ ความถนัดวิศวะ 👉 คลิกที่นี่
แต่ PACK เหล่านี้จะมีความยาวประมาณ 200 ชม. ซึ่งถ้าน้องอยู่ ม.6 แล้วยังไม่เริ่มเตรียมตัวสอบเลย ก็เกรงว่าจะไม่ทันแล้วครับ แนะนำให้ลงคอร์สที่เน้นทำโจทย์มากกว่า
หลายๆ คนอาจจะกังวลว่าแล้วถ้า พื้นฐานไม่แน่นสามารถลงคอร์สทำโจทย์เลยได้มั้ย? ลงได้นะครับ เพราะพี่ๆ ออนดีมานด์จะมีทวนให้เล็กน้อยก่อนเริ่มให้ฝึกโจทย์ และหากติดตรงไหน มีจุดที่ไม่เข้าใจ ก็สามารถถามทีมวิชาการของเราผ่านระบบ CLEAR ได้เลยครับ พี่ๆ จะตอบให้ภายใน 24 ชม.
แน่นอนว่าการฝึกทำโจทย์อย่างเดียวอาจจะไม่แม่นเท่าการเรียนเก็บเนื้อหาให้ครบ แต่ก็เป็นวิธีหนึ่งที่รวบรัดและดีสำหรับน้องที่มีเวลาน้อย เพราะจะช่วยให้เห็นแนวข้อสอบ ได้วิเคราะห์ตัวเองว่าเรื่องไหนที่เราแม่น หรือ เรื่องไหนที่เราไม่ถนัดต้องไปเสริม การเสริมเฉพาะบท ช่วยประหยัดเวลาในการ เตรียมตัวสอบ ได้มากกว่าครับ
3) ใช้เวลา 1 วัน ไปงานติวของออนดีมานด์
นับเป็นโอกาสดีๆ ที่ 29 พ.ย.นี้ ออนดีมานด์จะมี งานติว สำหรับน้องที่อยากสอบเข้าหมอ-วิศวะ โดยเฉพาะ
จะเป็นการรวบตึงวิชาสำคัญ แนวโจทย์ออกบ่อย มาให้น้องๆ ได้ลองทำ สำหรับข้อนี้ไม่ว่าจะเป็นน้องที่เตรียมตัวมานาน หรือน้องที่อ่านหนังสือไม่ทันก็ขอแนะนำเลยนะครับ
โดยปีนี้อัปเกรดความสะดวกสบายให้ น้องๆ สามารถเลือกได้ว่าอยากจะไปติวที่งานอีเวนท์ ณ สยามพารากอน เพื่อจะได้พบปะพูดคุยกับพี่ๆ อาจารย์ออนดีมานด์ตัวจริง ร่วมกิจกรรมรับของรางวัลสนุกๆ หรือ น้องๆ ที่อยู่ต่างจังหวัดถ้าไม่สะดวกเดินทางก็เลือกติวออนไลน์อยู่บ้านได้ครับ
น้องที่อยากเข้าคณะอื่นๆ ไม่ต้องน้อยใจน้า! ถ้าอยากติวก็ได้เหมือนกัน แนะนำเป็นพาร์ทของวิศวะ เพราะจะได้ติววิชา ภาษาอังกฤษ PAT1 PAT2(เคมี) ถ้าต้องใช้ 3 วิชานี้ก็จัดเลย
4) ดูคลิปติว สอบเข้ามหาวิทยาลัย ใน YouTube
ใครยังไม่ Subscribe หรือ ยังไม่เคยเข้าไปดูช่องยูทูป OnDemandAcademy ถือว่าพลาดมากกก เพราะในนี้มีคลิป ติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพียบ! มีครบทุกวิชา มีให้ดูย้อนหลังหลายปีด้วย อ่านเองไม่ไหว มาฟังพี่ๆ ติวให้อาจจะช่วยให้เข้าหัวมากขึ้นครับ
5) อย่ามัวแต่กังวล จนไม่ทำอะไร
พี่บรรจงเข้าใจความรู้สึกน้องๆ น้าาา.. เวลามีหลายๆ อย่างต้องทำ ในเวลาอันน้อยนิด มันเครียดดด แต่ถ้าเรามัวแต่นั่งกังวลไม่ช่วยอะไรครับ ลองย้อนกลับไปทำตามข้อ 1 ที่พี่แนะนำไว้ อย่างน้อยก็ได้เริ่มลงมือทำแล้ว ข้ออื่นๆ ค่อยทะยอยทำตามมานะ
สุดท้ายนี้ขอให้น้องได้ใช้เวลาที่เหลือเตรียมตัวสอบอย่างเต็มที่ที่สุด ส่งผลให้สอบติดในคณะที่หวังไว้ครับ สู้ๆ ✌️