สรุปเนื้อหา คณิต พาราโบลา (ฟังก์ชันกำลังสอง) ม.3 เนื้อหาครบ พร้อมโจทย์และวิธีทำ

พาราโบลา

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนครับ วันนี้พี่ได้นำสรุปเนื้อหาที่สำคัญมากในวิชาคณิตศาสตร์มาฝากน้อง ๆ กันครับ นั่นก็คือเรื่อง “พาราโบลา” นั่นเองงง สำหรับพาราโบลานั้นนับว่าเป็นเนื้อหาที่สำคัญมาก เพราะน้อง ๆ จะเริ่มได้เจอกันตั้งแต่ ม.ต้น ยาวไปจนถึง ม.ปลาย เลย ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้ว ไปดูกันที่เนื้อหาเลยครับบ

พาราโบลาคืออะไร

พาราโบลา โดยนิยามแล้วหมายถึงเซตของจุดทุกจุดบนระนาบ ซึ่งอยู่ห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่ง (จุดโฟกัส) และอยู่ห่างจากเส้นตรงคงที่เส้นหนึ่ง (เส้นไดเรกตริกซ์) เป็นระยะทางเท่ากันเสมอ แน่นอนว่าใครอ่านนิยามของพาราโบลาอันนี้ครั้งแรกก็ต้องไม่เข้าใจแน่นอนว่าคำแต่ละคำมันหมายถึงอะไรกันแน่ใช่มั้ยครับ ถ้าอย่างนั้นให้น้อง ๆ นึกภาพเวลาเราเล่นบาสเกตบอล ในขณะที่เราโยนลูกบอลขึ้นไปในอากาศ เส้นทางที่ลูกบอลเคลื่อนที่ไปนั่นแหละครับคือพาราโบลา โดยพาราโบลาจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ ๆ ตามรูปต่อไปนี้เลยย

โบลานั้นจะมีสมการคือ y = ax^2 + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นค่าคงตัว และ a \ neq 0 นั่นเองครับ และเราอาจเรียกสมการดังกล่าวว่าเป็นฟังก์ชันกำลังสองก็ได้เช่นกันครับ

ลักษณะของพาราโบลา

สำหรับพาราโบลาในระดับ ม.ต้น ที่เราจะได้เจอนั้นจะมีอยู่ทั้งหมด 2 แบบครับ คือ พาราโบลาหงาย และ พาราโบลาคว่ำ โดยถ้า a > 0 กราฟที่ได้จะเป็นพาราโบลาหงาย แต่ถ้า a < 0 กราฟที่ได้จะเป็นพาราโบลาคว่ำนั่นเองครับ น้อง ๆ ดูรูปด้านล่างนี้ได้เลยย

สมการพาราโบลา

ก่อนหน้านี้พี่บอกน้อง ๆ ไปว่าพาราโบลาจะมีสมการในรูปแบบ y = ax^2 + bx + c จริง ๆ แล้วเราสามารถเขียนสมการพาราโบลาได้อีกรูปแบบหนึ่งครับ นั่นก็คือ y = a(x-h)^2 + k เมื่อ a, h, k เป็นค่าคงตัว และ a \ neq 0 โดยการเขียนสมการพาราโบลาทั้งสองแบบนี้มีชื่อเรียกด้วยครับ

  • สมการในรูป y = ax^2 + bx + c เรียกว่าสมการรูปทั่วไป
  • สมการในรูป y = a(x-h)^2 + k เรียกว่าสมการรูปมาตรฐาน

โดยสมการทั้งสองแบบจะยึดหลักเหมือนกันคือถ้า a > 0 กราฟที่ได้จะเป็นพาราโบลาหงาย แต่ถ้า a < 0 กราฟที่ได้จะเป็นพาราโบลาคว่ำนั่นเองครับ

สมการพาราโบลากับส่วนประกอบของพาราโบลา

พี่ขอนำสมการพาราโบลารูปมาตรฐานกลับมาอีกครั้งนะครับ

y = a(x-h)^2 + k

สมการรูปมาตรฐานนี้บอกข้อมูลเกี่ยวกับพาราโบลาเราหลายอย่างเลยครับ

  • ตัวแปร a จะเป็นตัวบอกว่าพาราโบลานั้นกว้างหรือแคบเท่าไหร่
  • ตัวแปร h จะเป็นตัวบอกว่าพาราโบลานี้มีจุดยอดอยู่ตรงไหนของแกน X และทำให้เรารู้ด้วยว่าแกนสมมาตรคือเส้นตรง x = h
  • ตัวแปร k จะเป็นตัวบอกว่าพาราโบลานี้มีจุดยอดอยู่ตรงไหนของแกน Y

ในระดับ ม.ต้น นั้นพี่อยากให้น้อง ๆ โฟกัสที่ตัวแปร h, k เป็นหลักครับ เพราะเราจะยังไม่ได้ทำอะไรมากกับตัวแปร a

โดยปกติแล้ว โจทย์ที่น้อง ๆ จะได้เจอนั้นเค้ามักจะให้สมการพาราโบลามาในรูปทั่วไป แต่สมการพาราโบลารูปทั่วไปนั้นไม่ได้บอกข้อมูลอะไรกับเราเท่าไหร่ครับ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือพยายามจัดรูปสมการรูปทั่วไปให้อยู่ในรูปมาตรฐานให้ได้ครับ โดยวิธีการจัดรูปนั้นเราจะใช้ความรู้เรื่องกำลังสองสมบูรณ์มาช่วยนั่นเอง

Note : จุดยอดของพาราโบลาหงายคือจุดต่ำสุด และจุดยอดของพาราโบลาคว่ำคือจุดสูงสุด

เพื่อเป็นการฝึกการจัดรูป เรามาลองทำโจทย์เกี่ยวกับการจัดรูปกันสัก 2 ข้อนะครับ

ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนสมการพาราโบลา y = x^2 + 2x + 1 ให้อยู่ในรูปทั่วไป

วิธีทำ

\begin{aligned}y &= x^2 + 2x + 1 \\&= x^2 + 2(x)(1) + 1^2 \\&= (x+1)^2 \\&= 1 \cdot (x+1)^2 + 0\end{aligned}

ต่อไปมาดูตัวอย่างที่ยากขึ้นนะครับ

ตัวอย่างที่ 2 จงเขียนสมการพาราโบลา y = 3x^2 + 4x + 7 ให้อยู่ในรูปมาตรฐาน

วิธีทำ

\begin{aligned}y &= 3x^2 + 4x + 7 \\y &= 3\left(x^2 + \dfrac{4}{3}x\right) + 7 \\y &= 3\left(x^2 + (2)(x)\left(\dfrac{2}{3}\right) + \left(\dfrac{2}{3}\right)^2\right) + 7 -3\left(\dfrac{2}{3}\right)^2 \\y &= 3\left(x + \dfrac{2}{3}\right)^2 + \dfrac{17}{3} \\\end{aligned}

การเขียนกราฟพาราโบลา

การเขียนกราฟพาราโบลานั้นเราจำเป็นจะต้องมีสมการของพาราโบลาในรูปมาตรฐาน เพราะว่าสมการในรูปมาตรฐานจะเป็นตัวบอกข้อมูลของพาราโบลานั้น ๆ ให้เราทราบนั่นเองครับ

มาลองทำโจทย์กันเลยครับ

ตัวอย่างที่ 3 จงเขียนกราฟของพาราโบลา y = (x-3)^2 + 2

วิธีทำ

จากสมการที่โจทย์กำหนดให้ เราจะได้ว่า

  • พาราโบลานี้เป็นพาราโบลาหงาย
  • มีจุดยอดเป็นจุดต่ำสุด
  • มีจุดยอดอยู่ที่จุด (3, 2)
  • มีเส้นตรง x = 3 เป็นแกนสมมาตร
  • ตัดแกน Y (x เป็น 0) ที่จุด (0, 11)

ดังนั้นเราจะเขียนกราฟได้ดังนี้

การหาจุดยอดของพาราโบลา

ในบางครั้งเราต้องการทราบว่าจุดยอดของพาราโบลาอยู่ที่จุดไหน แต่การที่เราจะจัดรูปสมการให้เป็นรูปมาตรฐานก็อาจจะใช้เวลามากเกินไปใช่มั้ยครับ ดังนั้นพี่ขอนำเสนออีกวิธีการหนึ่งในการหาจุดยอดของพาราโบลาดังนี้ครับ

วิธีการนี้จะหาจุดยอดได้จากสมการรูปทั่วไปได้เลย นั่นคือ ถ้าเรามีสมการพาราโบลาในรูป y = ax^2 + bx + c เราจะทราบได้ทันทีเลยว่าจุดยอดของมันคือ (h, k) = \left(-\dfrac{b}{2a}, \dfrac{4ac-b^2}{4a}\right)

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ลองไปทำโจทย์กันเลยครับบ

ตัวอย่างที่ 4 จงหาจุดยอดของพาราโบลา y = -0.5x^2 + 7x + 14

วิธีทำ

จากสมการที่โจทย์ให้มา เราจะได้ว่า a = -0.5, b = 7, c = 14

ดังนั้นเราจะได้ว่าจุดยอดของพาราโบลานี้คือ

\begin{aligned}\left(-\dfrac{b}{2a}, \dfrac{4ac-b^2}{4a}\right)&= \left(-\dfrac{7}{2(-0.5)}, \dfrac{4(-0.5)(14)-7^2}{4(-0.5)}\right) \\&= \left(-\dfrac{7}{-1}, \dfrac{-2(14)-49}{-2}\right) \\&= \left(-\dfrac{7}{-1}, \dfrac{-28-49}{-2}\right) \\&= \left(-\dfrac{7}{-1}, \dfrac{-77}{-2}\right) \\&= \left(7, 38.5\right)\end{aligned}

เราจึงสรุปได้ว่าจุดยอดของพาราโบลานี้คือ \left(7, 38.5\right) นั่นเองครับ

ความแตกต่างระหว่างพาราโบลา ม.ต้น และ ม.ปลาย

เนื้อหาของพาราโบลาใน ม.ต้น นั้นจะมีพาราโบลาเพียงแค่ 2 รูปแบบเท่านั้น คือพาราโบลาคว่ำ และพาราโบลาหงาย แต่ในระดับ ม.ปลาย เราจะได้เจอกับพาราโบลาอีก 2 แบบคือพาราโบลาเปิดซ้าย และพาราโบลาเปิดขวา อีกทั้งเรายังจะได้รู้ส่วนประกอบของพาราโบลาเพิ่มขึ้นอีกด้วย เช่น เส้นไดเรกตริกซ์ เลตัสเรกตัม การหาจุดโฟกัส พวกนี้เป็นต้นครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับน้อง ๆ กับเนื้อหาและโจทย์ซ้อมมือเรื่องพาราโบลาที่พี่ได้นำมาฝากในวันนี้ อาจจะมีการจัดรูปสมการหรือการมองรูปที่ค่อนข้างท้าทายไปบ้าง แต่พี่เชื่อว่าหากน้อง ๆ ฝึกทำโจทย์บ่อย ๆ เนื้อหาเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถพวกเราแน่นอนน

บทความอื่นๆ เพิ่มเติม 👉 : OnDemand

บทความอื่นๆ

เหลือเวลา

00
ชั่วโมง
00
นาที
วัน
ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที
เหลือเวลาอีก
ขั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที
ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

พบกับข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าเก่า

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

วันนี้เท่านั้น! รับ ID Book ฟรีทันที

ที่สาขาออนดีมานด์

พี่ออนดี้ส่งโมเมนต์สุดพิเศษให้น้อง

ต้อนรับวันวาเลนไทน์

ดีลดี ดีลเดียวก่อนหมดวันแห่งความรัก สมัครเลย

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที
เหลือเวลาอีก
วัน
ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

วัน
ชั่วโมง
นาที
00
วัน
00
ชั่วโมง

โค้งสุดท้ายแล้ว เหลือเวลา

00
ชั่วโมง
00
นาที

เหลือเวลา

00
วัน
00
ชั่วโมง

เหลือเวลา

00
ชั่วโมง
00
นาที

วันสุดท้ายแล้ว

โค้งสุดท้าย TPAT3 เหลือเวลา

วัน

พี่ออนดีมานด์มีตัวช่วยพิเศษ

เหลือเวลา
00
วัน
00
ชั่วโมง
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
วันสุดท้ายแล้ว
3 ชม สุดท้ายแล้วสมัครคอร์เลย
รับฟรี! ชุดแนวข้อสอบ TPAT3
ส่วนลดสูงสุด 1,000 บาท
ส่วนลดสูงสุด 500 บาท

นับถอยหลังก่อนสอบเข้าเตรียมอุดม (9 มี.ค. 67)

Days
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
โปรสุดท้าย NETSAT
เพื่อน้องมข. อีก 14 วันก่อนสอบ
โปรสุดท้าย เพื่อน้อง TU
อีก 1 เดือน ก่อนสอบ
ด่วน LIVEติว เลข โค้งสุดท้าย
ก่อนสอบเตรียมอุดมฯ