ผ่านกันไปสดๆ ร้อนๆ สำหรับการสอบ A-Level ของพี่ๆ #dek66 วิชาเคมีก็เป็นอีกหนึ่งวิชาที่พี่ๆ หลายคนบอกว่าข้อสอบปีก่อนๆว่ายากแล้ว ปีนี้ยากกว่า! แต่เดี๋ยวก่อน… วันนี้พี่ๆ Ondemand มัดรวมเนื้อหาวิชาเคมีในเรื่อง กลุ่มอะตอม สำหรับการสอบ A-Level เคมี ที่สอนโดยพี่เคนมาให้น้องๆ แล้ว! เตรียมตัวถูกจุด ฝึกทำโจทย์เยอะๆ รับรองว่าทำได้แน่นอน✨
A-Level เคมี เรื่องกลุ่มอะตอม ประกอบไปด้วยหัวข้อสำคัญๆ ดังนี้
- ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
- อะตอมและตารางธาตุ
- สมบัติของธาตุและสารประกอบ
- พันธะเคมี
เรามาดูกันดีกว่าว่าพี่เคนแนะนำให้เราจำหัวข้ออะไรบ้างสำหรับการสอบ A-Level เคมี ในหัวข้อกลุ่มอะตอม
ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
🧬 ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
- อย่างแรกที่พี่เคนแนะนำคือ เราควรดูเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูล ตรงนี้พี่เคนแนะนำว่าให้เราแยกความหมายของคำว่า “ความแม่น” ซึ่งจะหมายถึงค่าเฉลี่ยที่ได้ออกมาตรงกับความเป็นจริง กับ “ความเที่ยง” ที่หมายถึงข้อมูลที่ได้เป็นเลขเดียวกันหมด คือตรงเป๊ะเลอ แต่ไม่ได้หมายความว่าเลขที่เหมือนกันเหล่านี้จะแม่นน้า ให้ไปดูเรื่องนี้ให้ดีๆ สองคำนี้ไม่เหมือนกัน❌
🧬 การหาปริมาณสารด้วยวิธิการ Titration
- อย่างที่สองคือให้เราดูเรื่องของการหาปริมาณสารด้วยวิธีการ Titration ซึ่งจะมีอุปกรณ์สำคัญๆ ได้แก่ บิวเรต, ขวดรูปกรวย/รูปชมพู่ และ indicator โดยพี่เคนก็ได้แนะนำวิธีดูสาร ยกตัวอย่างเช่น ในข้อสอบจะมีชื่อสารสองชนิด ตัวไหนอยู่ข้างหลังคำว่าด้วยก็แปลว่าสารนั้นๆ คือสารที่อยู่ในบิวเรต หรือ หลักการเลือก indicator ก็คือจะเลือกอันที่เปลี่ยนสีใกล้จุดสมมูล
อะตอมและตารางธาตุ
🧬 หลักการพิจารณาขนาดอะตอมและขนาดไอออน
อย่างแรกเลยที่พี่เคนแนะนำคือหลักการพิจารณาขนาดอะตอมและขนาดไอออน น้องๆ จำได้กันใช่ไหมว่าไอออนจะต่างจากอะตอมตรงที่ไอออนจะมีประจุ ในขณะที่อะตอมจะไม่มีประจุ โดยหลักทั่วไปการพิจารณาขนาดมี 3 หลักคือ พิจารณาจากจำนวนชั้นยิ่งมีจำนวนชั้นเยอะ ยิ่งหมายความว่ามีขนาดใหญ่ ถ้าชั้นเท่ากัน ให้ดูที่ประจุ โดยประจุ -3 > -2 > -1 ก็จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าประจุขนาดกลาง และประจุขนาดกลางก็จะมีขนาดใหญ่กว่าประจุ +1 > +2 > +3 ถ้าชั้นเท่ากันและมีประจุขนาดเดียวกัน ให้ดูที่โปรตรอน หากโปรตรอนน้อยกว่า ก็จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าแบบที่มีโปรตรอนมาก
🧬 พลังงานไอออไนเซชั่น
อีกเรื่องคือให้น้องๆ ลองไปดูเรื่องของพลังงานไอออไนเซชั่น หรือที่เราเรียกว่า ค่า IE ซึ่งหมายถึงพลังงานที่ใช้ในการดึงอิเล็กตรอน โดยจะดึงได้ตอนที่เป็นแก๊สอะตอมเดี่ยว ซึ่งการดึงในครั้งแรกๆ ก็จะมีความง่ายมากที่สุดเมื่อเทียบกับครั้งหลังๆ ที่ต้องออกแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการข้ามชั้น
สมบัติของธาตุและสารประกอบ
🧬 แนวโน้มของตารางธาตุ
อย่างแรกเลยที่พี่เคนแนะนำคือหลักการพิจารณาขนาดอะตอมและขนาดไอออน น้องๆ จำได้กันใช่ไหมว่าไอออนจะต่างจากอะตอมตรงที่ไอออนจะมีประจุ ในขณะที่อะตอมจะไม่มีประจุ โดยหลักทั่วไปการพิจารณาขนาดมี 3 หลักคือ พิจารณาจากจำนวนชั้นยิ่งมีจำนวนชั้นเยอะ ยิ่งหมายความว่ามีขนาดใหญ่ ถ้าชั้นเท่ากัน ให้ดูที่ประจุ โดยประจุ -3 > -2 > -1 ก็จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าประจุขนาดกลาง และประจุขนาดกลางก็จะมีขนาดใหญ่กว่าประจุ +1 > +2 > +3 ถ้าชั้นเท่ากันและมีประจุขนาดเดียวกัน ให้ดูที่โปรตรอน หากโปรตรอนน้อยกว่า ก็จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าแบบที่มีโปรตรอนมาก
🧬 ตารางสารประกอบ
- อีกเรื่องที่อยากให้น้องๆ ไปดูคือเรื่องของ ตารางสารประกอบ ให้ดีๆ เพราะสารบางชนิดก็มีจุดเด่นที่อาจทำให้เราแยกสารนั้นๆ ออกได้ง่ายขึ้น ย่นระยะเวลาการคิด วิเคราะห์ และคำนวนของเราไปเยอะเลย ยกตัวอย่างเช่น โลหะเมื่อไปจับกับสารแต่ละอย่างจะให้ค่าจุดเดือดที่สูง และมักจะทำให้เกิดความเป็นเบสและกลาง เห็นไหมคะน้องๆ ว่าเราสามารถแยกโลหะได้ทันทีเพียงแค่เห็นตัวเลขจุดเดือดหรือความเป็นกรด-เบส
พันธะเคมี
🧬 ประเภทของพันธะ
- ในหัวข้อนี้พี่เคนแนะนำให้น้องๆ ไปดูเกี่ยวกับประเภทของพันธะทั้งสอง ทั้งพันธะภายในโมเลกุลที่ประกอบไปด้วย พันธะโคเวเลนต์ พันธะไอออนิกและพันธะโลหะและพันธะระหว่างโมเลกุลซึ่งจะประกอบไปด้วย 1.) แรงลอนดอน 2.) แรงระหว่างขั้ว 3.) พันธะไฮโดรเจน โดยพันธะไฮโดรเจนจะมีความแข็งแรงมากกว่าแรงระหว่างขั้วและแรงระหว่างขั้วจะมีความแข็งแรงกว่าแรงลอนดอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมีเงื่อนไขคือ ต้องมีขนาดใกล้เคียงกัน
🧬 ความยาวพันธะ
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือเรื่องของความยาวพันธะซึ่งหมายถึงระยะทางระหว่างจุดศูนย์กลางของอะตอมที่สร้างพันธะเคมีกัน โดยวิธีการวัดความยาวของมันคือเราก็จะวัดจากนิวเคลียสถึงนิวเคลียสอีกอัน
✨ จริงๆ แล้วก็ยังมีอีกมากมายหลายเรื่องที่พี่เคนแนะนำไว้ ถ้าน้องๆ อยากรู้เกี่ยวกับเนื้อหา และเทคนิคดีๆ ในการทำข้อสอบ A-Level เคมี เพิ่มมากขึ้น พี่ๆ ออนดีมานด์ก็มีคอร์สเรียนดีๆ จากพี่เคนมาแนะนำเช่นกัน
📌 คอร์สเคมี TCAS เล่ม 1 : กลุ่มอะตอม
รหัส : 3301-V09
✨นอกเหนือจากเรื่องกลุ่มอะตอมที่ต้องเก็งสำหรับการสอบ A-Level เคมีแล้ว ก็ยังมีอีกหลายๆ หัวข้อให้น้องๆ ไปศึกษาค้นคว้าอีกมากมายเลย อาจจะฟังดูเยอะ แต่พี่ๆ ขอบอกเลยว่าเรียนกับพี่เคนแล้ว น้องๆ จะสนุกจนลืมความเยอะและความยากของมันไปเลยค่ะ😎
📌 คอร์สเคมี TCAS เล่ม 1 – 5
รหัส : 3399-S10
📍นักเรียนที่ซื้อคอร์สตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2566 จนถึง 30 เมษายน 2566 น้องจะได้อายุคอร์ส 12 เดือน และถ้าหากซื้อคอร์สตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป คอร์สจะหมดอายุวันที่ 30 เมษายน 2567
📍พิเศษ!! :น้องที่สั่งซื้อคอร์ส Pack เคมี TCAS For Dek 67 จะได้รับสนามสอบจำลอง TCASTER Mock Exam : เคมี A-level (สนาม Online เริ่มสอบได้ตั้งเเต่ Mon 27 Nov – Mon 4 Dec 2023 เวลา 10.00-23.59)