สรุปเนื้อหา คณิต ลำดับ และ อนุกรม ม.6 เนื้อหาครบ แจกฟรีโจทย์พร้อมวิธีทำ

อนุกรม

สำหรับน้อง ๆ ม.ปลาย ที่กำลังจะเรียนบทลำดับและอนุกรม วันนี้พี่มีสรุปลำดับและอนุกรมแบบเข้าใจง่าย ๆ มาฝากน้อง ๆ ครับ บทนี้ก็เป็นอีกบทที่มีความสำคัญมากเช่นกัน เพราะบางครั้งโจทย์จากบทอื่นก็จะมีการพูดถึงหรือใช้เนื้อหาจากบทนี้ไปแก้ปัญหาโจทย์ข้อนั้น ๆ ก็ได้ครับ เช่นการนับจำนวนของตัวเลขที่หารด้วยจำนวนเต็มบางอย่างลงตัว เป็นต้น  ถ้าน้อง ๆ ทุกคนพร้อมแล้ว ไปลุยกันเลย!

✨ลำดับ คือ อะไร

ลำดับโดยนิยามแล้วหมายถึงฟังก์ชันที่มีโดเมนเป็นเซตของจำนวนเต็มบวก

เช่น f(x) = x^2 เมื่อ x เป็นจำนวนเต็มบวก

x = 1, f(1) = 1 จะเรียก 1 ว่าพจน์ที่ 1 เขียนแทนด้วย a_1 = 1

x = 2, f(2) = 4 จะเรียก 4 ว่าพจน์ที่ 2 เขียนแทนด้วย a_2 = 4

x = 3, f(3) = 9 จะเรียก 9 ว่าพจน์ที่ 3 เขียนแทนด้วย a_3 = 9

x = n, f(n) = n^2 จะเรียก n^2 ว่าพจน์ที่ n เขียนแทนด้วย a_n = n^2

ซึ่งพจน์ที่ n มีอีกชื่อหนึ่งว่า “พจน์ทั่วไป”

✨ชนิดของลำดับ

เราจะแบ่งลำดับออกเป็น 2 ประเภท คือ ลำดับจำกัด และลำดับอนันต์ครับ โดยที่

ลำดับจำกัด คือ ลำดับที่มีโดเมนเป็นเซตของจำนวนเต็มบวก n ตัวแรก เขียนแทนด้วย a_1, a_2, a_3, \dots, a_n

ลำดับอนันต์ คือ ลำดับที่มีโดเมนเป็นเซตของจำนวนเต็มบวก เขียนแทนด้วย a_1, a_2, a_3, \dots, a_n, \dots

ต่อไปเราจะไปศึกษาลำดับที่มีคุณสมบัติพิเศษบางอย่างกันครับ โดยจะมีสองลำดับที่เราจะสนใจเป็นพิเศษในระดับ ม.ปลาย นั่นคือ ลำดับเลขคณิต และลำดับเรขาคณิตนั่นเองครับ

✨ลำดับเลขคณิต

คือลำดับที่มีผลต่างของพจน์ที่ n+1 กับพจน์ที่ n เป็นค่าคงที่ และเราจะเรียกค่าคงที่นั้นว่า “ผลต่างร่วม” และจะใช้ d เพื่อแทนผลต่างร่วมครับ

เช่น 2, 4, 6, 8, 10 เป็นลำดับเลขคณิต เพราะว่ามีผลต่างร่วมเท่ากับ 2 นั่นเองครับ (ขวา – ซ้าย มีค่าคงที่)

นอกจากนี้เรายังสามารถเขียนพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิตได้ด้วยสมการ a_n = a_1 + (n-1)d ครับ

✨ตัวอย่างที่ 1 จงหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต 2, 4, 6, 8, 10, \dots

✨วิธีทำ

ในการหาพจน์ทั่วไป เราต้องแทนค่าลงในสมการพจน์ทั่วไป นั่นคือสมการ a_n = a_1 + (n-1)d

จะเห็นว่าเราต้องแทนค่าของ a_1 และ d ลงไป ซึ่ง a_1 เราทราบค่าแล้วว่ามีค่าเท่ากับ 2 ต่อไปเราจะหา d หรือผลต่างร่วมกันครับ

d = 4-2 = 6-4 = 8-6 = 10-8 = 2 ดังนั้น d = 2

ดังนั้นทำการแทนค่าจะได้ว่า a_n = 2 + (n-1)2 = 2 + 2n – 2 = 2n

นั่นหมายความว่าพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิตนี้คือ a_n = 2n นั่นเอง

✨ลำดับเรขาคณิต

คือลำดับที่มีอัตราส่วนของพจน์ที่ n+1 ต่อพจน์ที่ n เป็นค่าคงที่ และเราจะเรียกค่าคงที่นั้นว่า “อัตราส่วนร่วม” และจะใช้ r เพื่อแทนผลต่างร่วม

เช่น 2, 4, 8, 16, 32 เป็นลำดับเรขาคณิต เพราะว่ามีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ 2 นั่นเองครับ (ขวา / ซ้าย มีค่าคงที่)

นอกจากนี้เรายังสามารถเขียนพจน์ทั่วไปของลำดับเรขาคณิตได้ด้วยสมการ a_n = a_1(r)^{n-1} ครับ

✨ตัวอย่างที่ 2 จงหาพจน์ทั่วไปของลำดับเรขาคณิต 2, 4, 8, 16, 32, \dots

✨วิธีทำ

ในการหาพจน์ทั่วไป เราต้องแทนค่าลงในสมการพจน์ทั่วไป นั่นคือสมการ a_n = a_1(r)^{n-1}

จะเห็นว่าเราต้องแทนค่าของ a_1 และ r ลงไป ซึ่ง a_1 เราทราบค่าแล้วว่ามีค่าเท่ากับ 2 ต่อไปเราจะหา r หรืออัตราส่วนร่วมกันครับ

r = \dfrac{4}{2}= \dfrac{8}{4} = 2 ดังนั้น r = 2

ดังนั้นทำการแทนค่าจะได้ว่า a_n = 2(2)^{n-1} = 2^n

นั่นหมายความว่าพจน์ทั่วไปของลำดับเรขาคณิตนี้คือ a_n = 2^n นั่นเอง

✨สรุปลำดับเลขคณิตและลำดับเรขาคณิต

✨ลำดับเลขคณิต

ลักษณะพิเศษ : มีผลต่างร่วม d = a_{n+1} – a_n

พจน์ทั่วไป : a_n = a_1 + (n-1)d

✨ลำดับเรขาคณิต

ลักษณะพิเศษ : มีอัตราส่วนร่วม r = \dfrac{r^{n+1}}{r^n}

พจน์ทั่วไป : a_n = a_1(r)^{n-1}

✨ลิมิตของลำดับอนันต์

ถ้าเราให้ a_n เป็นลำดับ เมื่อ n มีค่ามากขึ้นโดยไม่มีที่สิ้นสุดแล้ว a_n มีค่าเข้าใกล้หรือเท่ากับจำนวนจริง L เพียงค่าเดียว เราจะเรียกค่า L ว่าเป็นลิมิตของลำดับ a_n และเขียนเป็นสมการได้ว่า \displaystyle \lim_{n \to \infty} a_n = L และเราจะเรียกลำดับอนันต์นี้ว่าเป็นลำดับลู่เข้า แต่ถ้า \displaystyle \lim_{n \to \infty} a_n ไม่มีลิมิต หรือ หาค่าไม่ได้ เราจะเรียกลำดับเหล่านั้นว่าเป็นลำดับลู่ออก

✨ทฤษฎีลิมิตของลำดับอนันต์

กำหนดให้ a_n, b_n เป็นลำดับของจำนวนจริง และ \displaystyle \lim_{n \to \infty} a_n = A, \lim_{n \to \infty} b_n = B เมื่อ A, B เป็นจำนวนจริง และ c เป็นค่าคงตัวแล้ว เราจะได้ว่า

  1. \displaystyle \lim_{n \to \infty} c = c
  2. \displaystyle \lim_{n \to \infty} \dfrac{1}{n^k} = 0 เมื่อ k เป็นจำนวนตรรกยะบวก
  3. \displaystyle \lim_{n \to \infty} ca_n = c \lim_{n \to \infty} a_n = cA
  4. \displaystyle \lim_{n \to \infty} (a_n \pm b_n) = \lim_{n \to \infty} a_n \pm \lim_{n \to \infty} b_n = A \pm  B
  5. \displaystyle \lim_{n \to \infty} (a_n \cdot b_n) = \lim_{n \to \infty} a_n \cdot \lim_{n \to \infty} b_n = A \cdot  B
  6. \displaystyle \lim_{n \to \infty} \left(\dfrac{a_n}{b_n}\right) = \dfrac{\lim_{n \to \infty} a_n}{\lim_{n \to \infty} b_n} = \dfrac{A}{B} เมื่อ B \neq 0
  7. \displaystyle \lim_{n \to \infty} \sqrt[k]{a_n} = \sqrt[k]{\lim_{n \to \infty} a_n} = \sqrt[k]{A} เมื่อ k คือจำนวนเต็มบวก และ \sqrt[k]{A} เป็นจำนวนจริง

เมื่อทราบถึงความหมายและทฤษฎีของลิมิตของดับอนันต์แล้ว ต่อไปเราจะไปลองทำโจทย์กันดูครับ

ตัวอย่างที่ 3 กำหนดให้ \displaystyle a_n = \dfrac{7n+2}{n} จงหาค่าของ \displaystyle \lim_{n \to \infty} a_n

✨วิธีทำ

\begin{aligned} \lim_{n \to \infty} a_n &= \lim_{n \to \infty} \left(\dfrac{7n+2}{n}\right) \\&= \lim_{n \to \infty} \left(\dfrac{7n}{n} + \dfrac{2}{n}\right) \\&= \lim_{n \to \infty} \left(7 + \dfrac{2}{n}\right) \\&= \lim_{n \to \infty} 7 + \lim_{n \to \infty} \dfrac{2}{n} \\&= 7 + 0 \\&= 7\end{aligned}

ดังนั้นเราจึงสรุปได้ว่า \displaystyle \lim_{n \to \infty} a_n = 7




✨อนุกรมจำกัด

ถ้า a_1, a_2, a_3, \dots, a_n เป็นลำดับจำกดที่มี n พจน์ เราจะเรียก a_1 + a_2 + a_3 + \dots + a_n ว่าอนุกรม และแทน S_n = a_1 + a_2 + a_3 + \dots + a_n ว่าเป็นผลบวกของอนุกรม

✨อนุกรมเลขคณิต

คือผลบวก n พจน์แรกของลำดับเลขคณิต ซึ่งจะหาได้จาก S_n = \dfrac{n}{2}(a_1 + a_n) หรือ S_n = \dfrac{n}{2}(2a_1 + (n-1)d)

✨ตัวอย่างที่ 4 จงหาค่าของ 1 + 6 + 11 + 16 + \dots + 101

✨วิธีทำ

เนื่องจากอนุกรมนี้เป็นอนุกรมเลขคณิตที่มี d = 5, a_1 = 1, a_n = 101

เราจะหา n ดังนี้

a_n = a_1 + (n-1)d \Longrightarrow 101 = 1 + (n-1)5 \Longrightarrow n-1 = 20 \Longrightarrow n = 21

ดังนั้น 1 + 6 + 11 + 16 + \dots + 101 = S_{21}

ซึ่ง S_{21} = \dfrac{21}{2}(1 + 101) = \dfrac{21 \times 102}{2} = 1071

✨อนุกรมเรขาคณิต

คือผลบวก n พจน์แรกของลำดับเรขาคณิต ซึ่งจะหาได้จาก S_n = \dfrac{a_1(1-r^n)}{1-r} หรือ S_n = \dfrac{a_1(r^n-1)}{r-1} เมื่อ r \neq 1

 

ตัวอย่างที่ 5 จงหาค่าของ 1 + 2 + 4 + 8 + \dots + 512

✨วิธีทำ

เนื่องจากอนุกรมนี้เป็นอนุกรมเรขาคณิตที่มี r = 2, a_1 = 1, a_n = 512

เราจะหา n ดังนี้

a_n = a_1 r^{n-1} \Longrightarrow 512 = 1 (2)^{n-1} \Longrightarrow 2^9 = 2^{n-1} \Longrightarrow n = 10

ดังนั้น 1 + 2 + 4 + 8 + \dots + 512 = S_{10}

ซึ่ง S_{10} = \dfrac{1(2^10-1)}{2-1} = 2^10 – 1 = 1023

อนุกรมอนันต์

สำหรับอนุกรมอนันต์นั้นก็เหมือนกันอนุกรมจำกัดเลยครับ คือเป็นการนำพจน์แต่ละพจน์ของลำดับมาบวกเข้าด้วยกัน แต่คราวนี้จะเป็นการบวกไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ต่างกับอนุกรมจำกัดที่บวกกันแบบจำกัดพจน์ครับ

โดยอนุกรมอนันต์ที่เราจะศึกษาในระดับ ม.ปลาย นั้นมีเพียงอนุกรมเรขาคณิตอนันต์เท่านั้น การคำนวณจะเป็นยังไง ไปดูกันต่อได้เลยครับ

✨อนุกรมเรขาคณิตอนันต์

เราจะเขียน S_\infty เพื่อแทนอนุกรมเรขาคณิตอนันต์ โดยที่ S_\infty = \dfrac{a_1}{1-r} โดยที่ |r| < 1 นั่นหมายความว่าสำหรับอนุกรมเรขาคณิตอนันต์ใด ๆ เราจะสามารถหาผลบวกมันได้แค่ตัวที่ค่าสัมบูรณ์ของอัตราส่วนร่วมของมันมีค่าน้อยกว่า 1 เท่านั้น ถ้าเป็นค่าอื่นจะไม่สามารถหาค่าได้ครับ เหตุผลที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าถ้าค่าสัมบูรณ์ของอัตราส่วนร่วมมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 มันจะทำให้ค่าของแต่ละพจน์เพิ่มชึ้นหรือลดลงไปเรื่อย ๆ แบบไม่มีขอบเขตนั่นเองครับ

ตัวอย่างที่ 6 จงหาค่าของ 1 + \dfrac{1}{2} + \dfrac{1}{4} + \dots

✨วิธีทำ

เนื่องจากอนุกรมนี้เป็นอนุกรมเรขาคณิตอนันต์ที่มี r = \dfrac{1}{2}, a_1 = 1

ซึ่ง |r| = \left|\dfrac{1}{2}\right| < 1 ดังนั้นอนุกรมเรขาคณิตอนันต์นี้ จะสามารถหาค่าได้ โดยหาได้ดังนี้ครับ

\begin{aligned}1 + \dfrac{1}{2} + \dfrac{1}{4} + \dots &= \dfrac{1}{1-\dfrac{1}{2}} \\&= \dfrac{1}{\dfrac{1}{2}} \\&= 2\end{aligned}

ดังนั้น 1 + \dfrac{1}{2} + \dfrac{1}{4} + \dots = 2

✨อนุกรมรูปแบบพิเศษ

อนุกรมผสม

อนุกรมผสมนั้นเป็นอนุกรมที่มีรูปแบบไม่ตายตัว เช่น อนุกรมผสมระหว่างเลขคณิตกับเลขคณิต หรืออนุกรมผสมระหว่างเลขคณิตกับเรขาคณิต เป็นต้น น้อง ๆ สามารถดูวิธีการหาผลบวกได้จากตัวอย่างต่อไปนี้เลยครับ

ตัวอย่างที่ 7 จงหาค่าของ \dfrac{3}{2} + \dfrac{5}{2^2} + \dfrac{7}{2^3} + \dots + \dfrac{21}{2^{10}}

✨วิธีทำ

ให้สิ่งที่โจทย์ถามแทนด้วย S

S = \dfrac{3}{2} + \dfrac{5}{2^2} + \dfrac{7}{2^3} + \dots + \dfrac{21}{2^{10}}

สังเกตว่าตัวส่วนเรียงกันเป็นลำดับเรขาคณิตที่ r = \dfrac{1}{2} ดังนั้นเราจะคูณด้วยค่านั้นทั้งสมการ จะได้

\dfrac{1}{2}S = \dfrac{3}{2^2} + \dfrac{5}{2^3} + \dfrac{7}{2^4} + \dots + \dfrac{21}{2^{11}}

นำทั้งสองสมการมาลบกัน จะได้

\begin{aligned}S-\frac{1}{2}S &= \frac{3}{2} + \frac{2}{2^2} + \frac{2}{2^3} + \frac{2}{2^4} + \cdots +\frac{2}{2^{10}} – \frac{21}{2^{11}} \\\dfrac{1}{2}S &= \frac{3}{2} + 2\left(\frac{1}{2^2} + \frac{1}{2^3} + \frac{1}{2^4} + \cdots+ \frac{1}{2^{10}}\right) – \frac{21}{2^{11}} \\&= \frac{3}{2} + 2 \left(\dfrac{\frac{1}{2^2}\left(1-\frac{1}{2^9}\right)}{1-\frac{1}{2}}\right)- \frac{21}{2^{11}} \\&= \frac{3}{2} + 2\left(\dfrac{\frac{1}{2^2} – \frac{1}{2^{11}}}{\frac{1}{2}}\right) -\frac{21}{2^11} \\&= \frac{3}{2} + 4 \left(\frac{1}{2^2} – \frac{1}{2^{11}}\right) – \frac{21}{2^{11}} \\&= \frac{3}{2} + 1 – \frac{4}{2^{11}} – \frac{21}{2^{11}} \\&= \frac{5}{2} – \frac{25}{2^{11}} \\\therefore S &= 5 – \frac{25}{2^{10}}\end{aligned}



เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับเนื้อหา ลำดับ และ อนุกรม ที่พี่นำมาฝากน้อง ๆ ทุกคนในวันนี้ หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจในครั้งแรกที่อ่าน แต่เราไม่จำเป็นต้องเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดนี้ภายในวันเดียวหรือการอ่านเพียงรอบเดียวก็ได้ครับ น้อง ๆ สามารถค่อย ๆ ทบทวนเนื้อหาไปพร้อมกับการฝึกทำโจทย์เพื่อให้เก่งขึ้นได้

ถ้าน้องๆ คิดว่าแค่อ่านบทความแล้วยังไม่พอ พี่ออนดีมานด์มีคอร์สเรียนแนะนำดีๆ มาบอกต่อ 

คอร์สเรียน เปิดตัวใหม่สำหรับ สายบริหาร

บทความอื่นๆ เพิ่มเติม 👉 : OnDemand

พร้อมแจกฟรี

แผนการเรียนคณิตศาสตร์ ม.ปลาย

บทความอื่นๆ

เหลือเวลา

วัน
ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที
เหลือเวลาอีก
ขั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที
ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

พบกับข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าเก่า

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

วันนี้เท่านั้น! รับ ID Book ฟรีทันที

ที่สาขาออนดีมานด์

พี่ออนดี้ส่งโมเมนต์สุดพิเศษให้น้อง

ต้อนรับวันวาเลนไทน์

ดีลดี ดีลเดียวก่อนหมดวันแห่งความรัก สมัครเลย

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที
เหลือเวลาอีก
วัน
ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

วัน
ชั่วโมง
นาที

โค้งสุดท้ายแล้ว เหลือเวลา

วันสุดท้ายแล้ว

โค้งสุดท้าย TPAT3 เหลือเวลา

วัน

พี่ออนดีมานด์มีตัวช่วยพิเศษ

เหลือเวลา
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
วันสุดท้ายแล้ว
3 ชม สุดท้ายแล้วสมัครคอร์เลย
รับฟรี! ชุดแนวข้อสอบ TPAT3
ส่วนลดสูงสุด 1,000 บาท
ส่วนลดสูงสุด 500 บาท

นับถอยหลังก่อนสอบเข้าเตรียมอุดม (9 มี.ค. 67)

Days
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
โปรสุดท้าย NETSAT
เพื่อน้องมข. อีก 14 วันก่อนสอบ
โปรสุดท้าย เพื่อน้อง TU
อีก 1 เดือน ก่อนสอบ
ด่วน LIVEติว เลข โค้งสุดท้าย
ก่อนสอบเตรียมอุดมฯ