รู้ก่อน! เตรียมตัวก่อน! สถิติข้อสอบเคมีวิชาสามัญ ปี 61-62-63
วิชาเคมีสามัญเป็นอีก 1 วิชาที่มีความสำคัญมาก เหมาะกับน้องๆ ม.6 ที่จะสอบเข้าแพทย์ฯในระบบ กสพท. และระบบรับตรงของหลายมหาวิทยาลัย และอีกหลายๆ คณะที่ต้องใช้วิชานี้ ลักษณะของ ข้อสอบเคมี จะเป็นปรนัย (5 ตัวเลือก) มีจำนวน 50 ข้อ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ข้อละ 2 คะแนน ระดับความยากง่ายจะอยู่ที่ ง่าย – ปานกลางครับ สำหรับเนื้อหาที่ออกสอบนั้น เนื้อหาจะครอบคลุมเคมี ม.ปลาย ทั้งหมด ซึ่งข้อสอบจะออกรวมๆ ทุกบท ดังนั้นน้องๆ ควรเรียนเนื้อหาทั้งหมดให้แม่นและเข้าใจ (คอร์สเคมี TCAS และคอร์ส UpSkill ตะลุยโจทย์
5 วิธีเพิ่มสมาธิในการเรียนและทำข้อสอบ
ก่อนที่น้องๆ จะเริ่มเรียน เริ่มอ่านหนังสือ หรือแม่แต่เวลาทำ ข้อสอบเคมี พี่อยากให้น้องๆ ทุกคนฟัง 5 เคล็ดลับการเพิ่มสมาธิกันก่อนครับ เพื่อที่เวลาน้องเรียนหรือทำข้อสอบ มันจะออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด
1. หยุดเล่น Social เวลาอ่านหนังสือ
เริ่มต้นง่ายๆ ที่มือถือน้องๆ ก่อนเลยครับ หากวางมือถือไว้ใกล้ตัว ก็เป็นไปได้ที่น้องๆ จะหยิบขึ้นมาเล่น แล้วเลื่อนเพลินโดยไม่รู้ตัว ทางที่ดีควรนำมือถือไปไว้ที่อื่น หรือปิดเสียง/ปิดเครื่องขณะอ่านหนังสือได้ยิ่งดีครับ เพราะจะไม่เกิดการรบกวน และจะทำให้น้องๆ ใจจดใจจ่อ อ่านหนังสือได้อย่างเต็มที่
2. อย่าทำหลายสิ่งหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
การทำหลายสิ่งหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ทำให้สมาธิเราวอกแวกได้ง่าย และเราจะลืมง่ายเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น น้องๆ ไม่ควร ทานข้าวไป ดูหนังไป อ่านหนังสือไปพร้อมๆ กัน รับรองว่าบทเดียวก็ยังอ่านไม่จบแน่ๆ ครับ สิ่งที่น้องต้องทำคือ ทำให้เสร็จไปทีละอย่าง อาจจะรับประทานให้เสร็จก่อน แล้วค่อยมานั่งอ่านหนังสือ ถ้าอ่านจบอาจจะให้รางวัลตัวเองดูหนังซักรื่องหนึ่ง เป็นต้น
3. จัดเรียงลำดับความสำคัญ
เวลาอ่านหนังสือหรือทำ ข้อสอบเคมี เราต้องรู้ว่าเราควรให้ความสำคัฐกับสิ่งไหนก่อน เช่นบทไหนสำคัญมาก บทไหนสำคัญน้อย เราก็ต้องให้น้ำหนักกับมันอย่างถูกต้อง ควรเน้นอ่านบทที่ออกสอบบ่อย มีความสำคัญมากก่อน แล้วค่อยไล่ลงมาบทที่มีความสำคัญน้อย เช่นเดียวกันกับการทำข้อสอบ ข้อไหนที่ใช้เวลาคิดนาน ต้องคำนวณเยอะๆ น้องๆ อาจจะทข้อนั้นก่อน เพราะช่วงต้นเวลาของการทำสอบสมองเราจะพร้อมมาก และข้อสอบที่ไม่ต้องคิดคำนวณเยอะ หรือไม่ยากเกินไป เราสามารถเก็บไว้ทำท้ายๆ ได้
4. ทิ้งความกังวลหรือหยุดคิดเรื่องอื่นๆ ก่อน
พี่เข้าใจนะครับว่าน้องๆ ทุกคนก๋ต่างมีความกังวล ไม่มั่นใจ หรือบางคนออาจจะกำลังมีปัญหาการเรียน ปัญหาชีวิต แต่เมื่อน้องต้องเรียน หรืออ่านหนังสือสอบ พี่อยากให้น้องๆ ทิ้งความกังวลเหล่านั้นไปก่อน หยุดคิดและมาตั้งใจอ่านหนังสือ เพราะหากเราอ่านไปและคิดกังวลไป น้องจะไม่มีสมาธิและอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง สุดท้ายผลลัพธ์ที่ออกมาคือไม่มีทั้งคู่ สิ่งที่กังวลก็ยังไม่ได้แก้ไข ส่วนหนังสือที่อ่านก็อ่านไม่รู้เรื่อง
5. แบ่งเวลาอ่านหนังสือ เรียน เล่น ให้ชัด
เราควรแบ่งเวลาให้พอดี เรียนเป็นเรียน เล่นเป็นเล่น หากน้องๆเรียนออย่างเดียว ไม่พัก ไม่ทำกิจกรรมอย่างอื่นเลย รับรองว่างานนี้มีเบลอแน่นอนครับ ทางที่ดี เมื่อเราอ่านหนังสือแล้วเรารู้สึกเริ่มล้า เริ่มไม่เข้าหัว ให้หยุดอ่านและพักสมองกันก่อนครับ เพราะหากเรยังอ่านไปเรื่อยๆ มันอาจจะไม่รู้เรื่อง และเราก็ต้องกลับมาอ่านใหม่อยู่ดี ดังนั้น พี่แนะนำให้พักเบรกบ้าง เมื่อเราพักเต็มที่แล้ว เราจะมีแรงกลับมาอ่านขวนขวายต่อแน่นอนครับ และได้ประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
หากน้องๆ นำเคล็ดลับ 5 ข้อนี้ไปใช้ พี่ๆ ออนดีมานด์รับรองว่าน้องจะมีสมาธิในการอ่านหนังสือและทำข้อสอบอย่างแน่นอน แต่มีสมาธิแล้ว ก็ต้องไม่ลืมศึกษาด้วยนะครับว่า ข้อสอบเก่าปีก่อนๆ นั้นมีอะไรบ้าง ออกอะไร จำนวนเท่าไหร่ เพื่อที่เราจะได้เก็งโจทย์ถูกและอ่านหนังสือได้ถูกจุดครับ
- สายวิศวกรรมศาสตร์
- สายนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์
- สายวิทย์สุขภาพ 1 (แพทย์ ทันตะ เภสัช สัตวฯ)
- สายวิทย์สุขภาพ 2 (พยาบาลศษสตร์ สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด สาธารณสุขฯ)
- สายบัญชี บริหาร การเงิน การตลาด
- สายแพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน
- สายวิทยาศาตร์ต่างๆ (กายภาพ ชีวภาพ ICT/IT)
- สายศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
- สายสถาปัตยกรรมศาสตร์
- สายวิจิตรศิลป์ มัณฑนศิลป์
- สายเกษตรฯ เทคโนโลยีการเกษตร
- วิทยาศาสตร์การกีฬา พลศึกษา
สถิติข้อสอบเคมีสามัญ ปี 61-62-63
จากสถิติการออก ข้อสอบเคมี 3 ปีล่าสุดที่ผ่านมา ข้อสอบจะให้น้ำหนักกับหัวข้อ กรด-เบส มากที่สุด รองลงมาคือไฟฟ้าเคมี และสมบัติของธาตุและสารประกอบ ตามลำดับ และบทที่ออกน้อยที่สุดหรือแทบจะไม่ออกเลย คือเรื่องเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ สถิติเหล่านี้จำเป็นมากเพราะสามารถใช้อ้างอิงบทที่จะออกสอบในปีต่อๆ ไปได้ครับ ทำให้น้องๆ รู้ว่า น้องควรเน้นเรื่องไหนมากที่สุดและเรื่องไหนรองลงมา อ่านให้ถูกจุดนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่การทำโจทย์และแนวข้อสอบก็สำคัญไม่แพ้กันนะครับ ดังนั้นอย่าลืมทบทวนและฝึกทำโจทย์ให้ได้มากที่สุด!!
ปิดเทอม 2 | เปิดเทอม 1 | ปิดเทอม 1 | เปิดเทอม 2 | ||||||||||
ระดับชั้น | วิชา | มี.ค.-64 | เม.ย.-64 | พ.ค.-64 | มิ.ย.-64 | ก.ค.-64 | ส.ค.-64 | ก.ย.-64 | ต.ค.-64 | พ.ย.-64 | ธ.ค.-64 | ม.ค.-65 | ก.พ.-65 |
ม.4 | เคมี | 3291 กลุ่มอะตอม ตารางธาตุและพันธเคมี | 3292 กลุ่มปริมาณสารสัมพันธ์ | 3293 กลุ่มแก๊ส อัตรา และสมดุลเคมี | |||||||||
ม.5 | เคมี | 3294 กลุ่มกรด – เบส และไฟฟ้าเคมี | 3295 กลุ่มเคมีอินทรีย์ | 3399 Pack เคมี TCAS | |||||||||
ม.6 | เคมี | 3399 Pack เคมี TCAS | 3307 Upskill เคมีสามัญ / 3306 ตะลุยโจทย์เคมี PAT 2 |